การตรวจสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจากทะเล

โดย: รุ่งทิวา รุ่งโรจน์ทัศนีกร,ลัลธริมา ศรีสุทธิ์    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 28

อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , คณิต สุวรรณบริรักษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ของสารสกัดจากฟองน้ำจำนวน 10 ชนิด ที่เก็บบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร โดยใช้วิธี paper disc diffusion สารสัดที่นำมาทดสอบได้แก่ สารสกัดส่วน dichloromethane,hexane,methanolc และ 90% methanol โดยทดสอบกบเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,Bacillus subtilis,Escherichia coli และเชื้อรา Canadida albicans จากผลการศึกษาพบว่า สารสกัดส่วน dichloromethane ของตัวอย่าง CP-1-96-010 และตัวอย่าง CP-1-96-027 มีฤทธิ์ต้านจุลชีพดีที่สุด โดยที่ตัวCP-1-96-027 มีผลต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.albicans ที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/disc การศึกษาหาสารประกอบทางเคมีของสารสกัดสำดับส่วนดังกล่าว ทำได้โดยใช้วิธี Thin Layer Chromatography ซึ่ง adsorbent คือ silica gel GF254,solvent system คือ dichloromethane : methanol และ n-hexane : ethylacetate ในอัตราส่วนต่างๆกัน,detectorได้แก่ UV short และ long wave,Anisaldehyde/H2so4,Dragendoff s และ Phosphomolydis acid spaying agents ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างของฟองน้ำทั้ง 10 ชนิด คาดว่าจะมีสารกลุ่ม terpenoids,alkaloids และ long chain hydrocarbon
abstract:
Antimicrobial activity screening of the fraction form ten sponges collected form Chumporn Provinice,wes performed by using paper disc diffusion method. the dichlorometane fraction of the sample number CP-1-96-010 and CP-1-96-027 exhibited significant antimicrobial activity Bacillus subtilis and Candida albicans in the cconcentretion 500 microgram/dise,respectively. By means of thin-layer chromatographic method. The chemical components of these fraction were studied and the adsorbent was silica gel GF254. The mixture of dichloromethane-methanol,and n-hexane-ethylacetate in varied proportions were the solvent systems. Ultraviolet in 254 and 365 nm. were thephysical detectors and anisaldehyde/h2so4,Dragendorff s.phosphomolypdic acid spyraying agents were the chemical detectors. the results showed that all of the samples contained steroidal, alkaloidal and long chain hydrocanbon compounds.
.