การศึกษาการใช้ยาของผู้พิการทางสายตาในกรุงเทพมหานคร

โดย: ชัยพร จินะการ,ธีระวัฒน์ แถวถาทำ    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 28

อาจารย์ที่ปรึกษา: อาทร ริ้วไพบูลย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ผู้พิการทางสายตา, การใช้ยา, บริการทางเภสัชกรรม, Visually impaired persons, Medicine utilization, Pharmaceutical services
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ยาของผู้พิการทางสายตา โดยเป็น การศึกษาเชิงบรรยายแบบตัดขวาง ในผู้พิการทางสายตา อายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร เก็บ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ในปี 2550 ผลการศึกษาจากตัวอย่าง 86 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุ 31- 50 ปี (ร้อยละ 65) เป็นเพศชาย ร้อยละ61 ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 16 และหนึ่งในสี่อ่านอักษร เบรลล์ไม่ได้ พบว่าในช่วงสองสัปดาห์ก่อนการสัมภาษณ์ มีการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยปวดข้อมากกว่า ยาอื่น (26%) รองลงมาได้แก่ ยาเฉพาะโรคประจำตัว และยาแก้ปวดหัวลดไข้ และแหล่งที่รับยา ส่วนใหญ่ได้แก่ร้านขายยา ในสามเดือนที่ผ่านมา สามในสี่ได้รับความรู้ทางเภสัชกรรมโดยได้จาก วิทยุร้อยละ37 รองลงมาได้แก่ร้านยาร้อยละ 32 มีผู้เคยไปโรงพยาบาลร้อยละ 79 ในจำนวนนี้ ร้อย ละ 57 รับยาด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่ (72%) เป็นการจ่ายยาและอธิบายวิธีการใช้พร้อมให้จำ ลักษณะของเม็ดยาหรือบรรจุภัณฑ์ ในการใช้ยาด้วยตนเองส่วนใหญ่ใช้ความจำในการจำแนก ชนิด ขนาดและเวลารับประทาน ในด้านความต้องการบริการทางเภสัชกรรม พบว่าร้อยละ 81 ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์มีจิตสำนึกช่วยเหลือคนตาบอด ตามด้วยการอธิบายการใช้ยา เป็นพิเศษ และการจัดทำฉลากเฉพาะสำหรับผู้พิการทางสายตา จากข้อมูลข้างต้นพบว่าผู้พิการ ทางสายตา อยู่ในสถานะที่สมควรได้รับการบริการทางเภสัชกรรมที่มีคุณภาพมากขึ้น
abstract:
The aim of this project was to study medicine utilization among the blind in Bangkok. The study was designed as a cross-sectional descriptive research. Study group was the visually impaired persons aged at less 18 years old staying in Bangkok. Data were collected by a face-to-face interview in 2007. Eighty-six people were included in the study. Major samples were 31-50 years old (65%) and male (61%). Sixteen percent did not have a compulsory education and twenty-five percent could not read the Braille alphabet. For medicine use during 2 weeks before the interview, the most frequently-used drugs were anti-inflammatory agents and muscle relaxants (26%), followed by medicine for chronic diseases and antipyretics. Most of them received medicines from drug stores. In the past three months before the interview, three-fourths of the samples received pharmacy educational media. The major source was radio followed by drug store. Seventy-nine percent used to go to hospitals. Fifty-seven percent of these collected the medicines by themselves. Approximately three-fourths received the medicines with suggestion of how to recognize the medicines. For self medicine utilization, they differentiated types, doses and durations of drug use from memory. For pharmaceutical services, eighty-one percent required service mind for the disabled people followed by special explanations of the medicine use including special drug label. Based on the study results, the visually impaired persons were in need of improved pharmaceutical services.
.