การศึกษาอนุกรมวิธานพืชสกุลพญายอ (Clinacanthus Nees, วงศ์ Acanthaceae) ในประเทศไทย

โดย: นางสาวชนิกานต์ เจิดเมธาวุฒิ,นางสาวภัทร์สิริ กฤษณุรักษ์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 28

อาจารย์ที่ปรึกษา: ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน , วีนา นุกูลการ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: Clinacanthus nutans, Clinacanthus siamensis, Andrographis paniculata, Rhinacanthus nasutus, ribosomal DNA, nuclear DNA, Thin layer chromatography, Phylogeny, Clinacanthus nutans, Clinacanthus siamensis, Andrographis paniculata, Rhinacanthus nasutus, DNA extraction, Gel electrophoresis, Thin layer chromatography, Polymerase chain reaction, Phylogenetic tree
บทคัดย่อ:
พืชสกุลพญายอ (Clinacanthus Nees, วงศ์ Acanthaceae) เป็นพืชที่พบเฉพาะในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยเคยรายงานไว้ 2 ชนิด คือ C. nutans (Burm.f.) Lindau (พญายอ) และ C. siamensis Bremek. (ลิ้นงูเห่า) แต่ปัจจุบัน C. siamensis ถูกจำแนกให้เป็นชื่อพ้องของ C. nutans โดยปัญหาที่พบคือ ในทางการแพทย์แผนไทย และอุตสาหกรรมยาสมุนไพรจะใช้ C. nutans เป็นวัตถุดิบในการผลิตยารักษาเริมเท่านั้น การจำแนก C. siamensis เป็นชื่อพ้องของ C. nutans จึงสร้างปัญหาในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรพญายอ โครงการพิเศษนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างพญายอ และลิ้นงูเห่า โดยใช้ข้อมูลด้านสัณฐานวิทยา พฤกษเคมี และอณูชีววิทยา ผลการศึกษาพบว่าลักษณะสัณฐานวิทยาของพญายอมีความแตกต่างจากลิ้นงูเห่า โดยมีขนาดของใบ ช่อดอก ที่เล็กว่าลิ้นงูเห่าอย่างชัดเจน การศึกษาข้อมูลทางพฤกษเคมีโดยวิธีรงคเลขผิวบาง พบว่าสามารถบอกความแตกต่างของพืชทั้ง 2 กลุ่มได้ โดยลิ้นงูเห่ามี marker จำนวน 2 แถบ (Rf เท่ากับ 0.33 และ 6.8) ซึ่งไม่พบในพญายอ ส่วนข้อมูลด้านอณูชีววิทยาโดยใช้ marker จำนวน 3 ยีน ได้แก่ trnH-psbA, rbcL และ ITS2 โดยพญายอและลิ้นงูเห่าถูกจัดอยู่คนละกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลลักษณะสัณฐานวิทยา และพฤกษเคมี ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการแก้ปัญหาทางด้านอนุกรมวิธานของพญายอต่อไป
abstract:
Clinacanthus Nees (Acantaceae) found in tropical Asia. In Thailand, there were two species, C. nutans (Burm.f.) Lindau and C. siamensis Bremek. For Thai Traditional Medicine, only C. nutans has been used for treatment of Varicella Zoster. Recently, C. siamensis has been changed to be a synonym of C. nutans which leads to the confusion of the raw material for the traditional use. This project aims to study the differences between C. nutans and former C. siamensis by using morphological, phytochemical and DNA data. The results showed that leaf morphology of C. nutans is different from former C. siamensis. The size of leaf and inflorescence of C. nutans is obviously smaller than former C. siamensis. Phytochemical study using Thin Layer Chromatography represents the chemical differences between C. nutans and former C. siamensis by two markers (Rf 0.33 and 6.8) which is only found in former C. siamensis. DNA data from trnH-psbA, rbcL and ITS2 regions showed the differences between C. nutans and former C. siamensis to some extent. DNA evidence is congruent with the morphological and phytochemical results. This study provided some evidence for solving taxonomic problem of C. nutans and former C. siamensis.
.