การศึกษาผลของ Elicitors ต่อการสร้างสารทุติยภูมิของเซลล์แขวนลอย และ รากเพาะเลี้ยงกวาวเครือขาว

โดย: นายฉัตรเกษม พันธจักร    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: HPLC, Isoflavonoids, เทคโนโลยีชีวภาพ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, HPLC, Isoflavonoids, Plant biotechnology, Plant tissue culture
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้แสดงผลของ bacterial endophyte elicitors สามชนิด ได้แก่ PC-001 (Rhizobium sp.) PC-004 (Rhizobium sp.) และ PC-005 (Mesorhizobium sp.) ซึ่งแยกมาจากปมรากกวาวเครือขาว ต่อการสร้างสารทุติยภูมิของเซลล์แขวนลอยกวาวเครือขาวทั้งสองสายพันธุ์ (Pueraria candollei var. mirifica และ P. candollei var. candollei) โดยสารกลุ่ม isoflavonoids ที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกวิเคราะห์ด้วย High performance liquid chromatography (HPLC) เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานหกชนิด คือ coumestrol daidzin daidzein genistin genistein และ puerarin เซลล์แขวนลอยของทั้งสองสายพันธุ์มีการสร้างสารกลุ่ม isoflavonoids 4 ชนิด คือ daidzin daidzein genistin และ genistein แต่ไม่พบ coumestrol และ puerarin ซึ่ง elicitors มีผลทำให้การสร้างสารกลุ่ม isoflavonoids เพิ่มขึ้นในเซลล์แขวนลอยของ P. candollei var. mirifica โดย PC-001 กระตุ้นให้มีการสร้าง isoflavonoids รวม เท่ากับ 3.25?1.73 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง PC-004 เท่ากับ 2.81?0.72 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ PC-005 เท่ากับ 4.03?0.01 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง เมื่อเทียบกับชุดควบคุม (1.64?0.16 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสารกลุ่ม isoflavonoids ของเซลล์แขวนลอยของ P. candollei var. candollei ไม่ได้เพิ่มขึ้นหลังจากการถูกกระตุ้นด้วย elicitors ทั้งสามชนิด สำหรับในรากเพาะเลี้ยงกวาวเครือขาว ชิ้นส่วนของพืชที่ถูกกระตุ้นให้สร้างรากเพาะเลี้ยงได้ดีที่สุดคือ ชิ้นส่วนยอด ซึ่งความถี่ในการสร้างรากเพาะเลี้ยงของ P. candollei var. candollei และใน P. candollei var. mirifica คือ 72.73% และ 100% ตามลำดับ
abstract:
This investigation demonstrates the effects of three bacterial endophyte elicitors, PC-001(Rhizobium sp.), PC-004 (Rhizobium sp.), and PC-005 (Mesorhizobium sp.), isolated from root nodules of Pueraria candollei, on secondary metabolite production of cell suspension culture of both varieties (P. candollei var. mirifica and P.candollei var. candollei). The produced isoflavonoids were analyzed by High performance liquid chromatography (HPLC), compared with six external standards (coumestrol, daidzin, daidzein, genistin, genistein and puerarin). The cell suspension culture of both varieties produced only four isoflavonoids, i.e. daidzin, daidzein, genistin and genistein, but not coumestrol and puerarin. The bacterial elicitors increased isoflavonoids production of P. candollei var. mirifica cell suspension culture. PC-001 induced total isoflavonoids to 3.25?1.73 mg/g dry weight, PC-004 to 2.81?0.72 mg/g dry weight, and PC-005 to 4.03?0.01 mg/g dry weight, compared with the control group of 1.64?0.16 mg/g dry weight. However, the isoflavonoids production of P. candollei var. candollei cell suspension culture did not increase after elicitation with three bacterial endophyte elicitors. For hairy root culture, the most suitable part of plant for hairy root induction was shoot explant. The frequencies of hairy root induction of P. candollei var. candollei and P. candollei var. mirifica were 72.73% and 100%, respectively.
.