ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และปริมาณฟีโนลิกรวม ในผลมะละกอสายพันธุ์ต่างๆ

โดย: นางสาวบุษกร สันติจิตรุ่งเรือง,นายสิทธิวุฒิ จตุรเมธานนท์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , ปิยนุช โรจน์สง่า , สวรรยา บูรณะผลิน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ต้านออกซิเดชัน, อนุมูลอิสระ, DPPH, ฟีโนลิก, Folin-Ciocalteu, มะละกอ, Antioxidant, DPPH, Folin-Ciocalteu, Phenolic, Papaya, Carica papaya L.
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและปริมาณฟีโนลิกรวมในผลมะละกอสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งผลมะละกอดิบ และผลมะละกอสุก โดยทาการสกัดผลมะละกอ จานวน 13 สายพันธุ์ ประกอบไปด้วย ผลมะละกอพันธุ์ป่าก้านเขียว, พันธุ์เรดคาริเบียน, พันธุ์ปลักไม้ลาย, พันธุ์กลางดง, พันธุ์แขกนวล, พันธุ์แขกดาแมกซิโก, พันธุ์เรดเลดี้, พันธุ์โกโก้, พันธุ์ครั่งเหลือง, พันธุ์ครั่งแดง, พันธุ์ซันเซตโซโล, พันธุ์ฮวนโกล และพันธุ์ขอนแก่น สารสกัดที่ได้นาไปวิเคราะห์ปริมาณฟีโนลิกรวม (total phenolic content) โดยใช้วิธี Folin-Ciocalteu method และรายงานผลเป็นปริมาณเทียบเท่ากรดแกลลิคในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม (gallic acid equivalent, mg GAE/100 g fresh papaya pulp) และทาการตรวจสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันใช้เทคนิค DPPH assay โดยแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเป็นปริมาณเทียบเท่าวิตามินซีในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม (vitamin C equivalent, mg VCE/100 g fresh papaya pulp) ผลการศึกษาพบว่า ผลมะละกอดิบ สายพันธุ์เรดเลดี้ มีปริมาณฟีโนลิกรวมและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันต่าที่สุดคือ 13.82 และ 6.51 มิลลิกรัมในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม ตามลาดับ ผลมะละกอสุก มีปริมาณฟีโนลิกรวมและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในช่วง 23.45-69.66 และ 20.22-71.77 มิลลิกรัมในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม ตามลาดับ โดยพบว่าผลมะละกอสายพันธุ์ฮวนโกลมีปริมาณฟีโนลิก รวมและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงที่สุด มีปริมาณฟีโนลิกรวมเท่ากับ 69.66 ± 1.81 มิลลิกรัมเทียบเท่ากรดแกลลิคในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม และฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเท่ากับ 71.77 ± 2.52 มิลลิกรัมเทียบเท่าวิตามินซีในเนื้อผลมะละกอสด 100 กรัม
abstract:
The purpose of this study were to determine antioxidant activities and total phenolic contents in unripe and ripe papaya fruits from 13 cultivars including Pah Garn Khiew, Red Caribbean, Pluk Mai Lie, Klang Dong, Kak Nuan, Kak Dum Mexico, Red Lady, Cocoa, Krung Hlueng, Krung Dang, Sunset Solo, Huon Gold and Khonkan. The total phenolic contents were measured by using a Folin-Ciocalteu method, and the results obtained were expressed as gallic acid equivalent in 100 gram fresh papaya pulp (mg GAE/100 g fresh papaya pulp). The antioxidant activities were measured by using a DPPH assay, and the result obtained were expressed as vitamin C equivalent in 100 g fresh papaya pulp (mg VCE/100 g fresh papaya pulp). The result showed that the lowest total phenolic contents and antioxidant activities were found at Red Lady unripe papaya (13.82 ± 0.79 mg GAE and 6.51 ± 0.33 mg VCE in 100 g fresh papaya pulp, respectively). The antioxidant activities of ripe papayas were between 20.22 and 71.77 mg VCE/100 g fresh papaya pulp. The total phenolic contents ranged from 23.45 to 69.66 mg GAE/100 g fresh papaya pulp. Interestingly, the highest total phenolic contents and antioxidant activities were Huon Gold papaya (69.66 ± 1.81 mg GAE and 71.77 ± 2.52 mg VCE in100 g fresh papaya pulp, respectively).
.