ยาอัดเม็ดเสริมเส้นใยอาหารจากเปลือกส้มโอ

โดย: เกศสุดา วงศ์มกลาไสย,รสวันต์ อัศวพลังกูล    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 3

อาจารย์ที่ปรึกษา: เบญจา อิทธิมงคล , วิมล ศรีศุข , มนต์ชุลี นิติพน , ม.ล.สุมาลย์ สาระยา    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: เส้นใยอาหาร, เพคติน, ยาอัดเม็ด, เปลือกส้มโอ, dietary fiber, pectin, compressed tablet, pomelo rind
บทคัดย่อ:
เปลือกของส้มโอ (Citrus maxima Merr.) เป็นเปลือกผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารเป็นจำนวนมากและจะถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จุดประสงค์ของการทดลองนี้คือการสกัดเส้นใยอาหารจากส่วนเปลือกสีขาวของส้มโอและนำมาพัฒนาในรูปแบบยาอัดเม็ดเสริมเส้นใยอาหาร เพื่อเป็นการนำวัตถุดิบที่หมดประโยชน์แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและเกิดผลดีต่อสุขภาพ การทดลองทำโดยใช้กรดเกลือที่ร้อนสกัดเพคตินจากเปลือกสีขาวของส้มโอแล้ว ตกตะกอนในรูปอะลูมิเนียมเพคติเนต จากนั้นทำให้บริสุทธิ์ด้วยกรดเกลือและแอลกอฮอล์ และอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ได้ผลผลิตร้อยละ 5.3±0.69 ของเปลือกส้มโอ เพคตินที่ได้นำมาทำการวิเคราะห์พบว่ามีเส้นใยอาหารทั้งหมด (Total Dietary Fiber) ร้อยละ77.68±0.14 โดยน้ำหนัก ซึ่งแบ่งเป็นเส้นใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำและกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำร้อยละ 68.83±0.58 และ 8.85±0.48 โดยน้ำหนักตามลำดับ ค่าการอุ้มน้ำของเพคติน (Water Holding Capacity) เท่ากับ 22.87±1.40 กรัมต่อ 1 กรัมเพคติน การพัฒนาตำรับยาอัดเม็ดเสริมเส้นใยอาหารจากเปลือกส้มโอทำได้โดยวิธีเตรียมแกรนูลเปียก โดยมีสารสำคัญ คือ เพคตินขนาด 300 มิลลิกรัมต่อเม็ด สารช่วยแตกตัวคือ Ac-di-sol สารช่วยในการไหลคือ magnesium stearate สารเพิ่มปริมาณได้ทดลองใช้ 4 ชนิดคือ Avicel, dibasic calcium phosphate, lactose และ starch และสารช่วยยึดเกาะทดลองใช้ 3 ชนิด ได้แก่ starch paste, PVP K-90 และน้ำกลั่น พบว่าตำรับยาเม็ดที่มีคุณสมบัติดีที่สุดจากการทดลองครั้งนี้ คือการใช้ Avicel เป็นสารเพิ่มปริมาณ, PVP K-90 เป็นสารช่วยยึดเกาะ และ Ac-di-sol เป็นสารช่วยแตกตัว และเมื่อนำผงเพคตินและยาอัดเม็ดเพคตินมาตรวจปริมาณเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนและเชื้อที่ต้องห้ามปนเปื้อนพบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตาม USP 24
abstract:
Pomelo rind (Citrus maxima Merr.), a part of fruits contains high amount of dietary fiber which is considered to be none of commercial value. The objective of this project was to extract the dietary fiber from the pomelo rind and develop into compressed tablets, as a value–added product and health benefits. Pectin was extracted with boiling hydrochloric acid and then precipitated in the form of aluminium pectinate. It was then purified by using hydrochloric acid, alcohol and dried at 55 oC (the yield is 5.3 +- 0.69 % of pomelo rind). The analysis showed that the extracted fiber contained 77.68 +- 0.14, 68.83 +- 0.580 and 8.85 +- 0.48 % w/w in the form of total, soluble and insoluble dietary fiber, respectively. The water holding capacity was 22.87 +- 1.40 grams per 1 gram of pectin. Pectin tablets prepared by using wet granulation technique contained three hundred milligrams of pectin were used as the active ingredient, magnesium stearate as the lubricant, and Ac-di-sol as the disintegrant. Avicel, dibasic calcium phosphate, lactose, starch used as fillers and starch paste, PVP K-90, sterile water used as binders were investigated in the formulations. The best formula among these investigations was the one with Avicel as the filler, PVP K-90 as the binder and Ac-di-sol as the disintegrant. Both purified pectin and pectin tablets passed the microbial limit test as recommended in USP 24.
.