ผลของยาพรูลิฟล็อกซาซินต่อเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล สายพันธุ์ที่สร้างเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสแบบขยาย

โดย: นางสาวณัฐนันท์ วณิชชานันท์, นางสาววิชุตา ธรรมยุทธสกุล    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 3

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง , ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: เบต้าแลคแตมเมสแบบขยาย, เอสเชอริเชีย โคไล, พรูลิฟล็อกซาซิน, Extended-Beta-lactamase, Escherichia coli
บทคัดย่อ:
อุบัติการณ์ดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียก่อโรค จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สาคัญ อันเป็นผลมาจากการให้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสม หนึ่งในแบคทีเรียก่อโรคที่ก่อโรคได้หลายระบบในร่างกาย และที่พบได้อย่างกว้างขวาง คือ Escherichia coli เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แบคทีเรียชนิดดังกล่าวมีความสามารถในการดื้อต่อยาต้านจุลชีพได้หลายชนิด เช่น ยากลุ่มเบต้าแลคแตม ฟลูออโรควิโนโลน ในการศึกษาทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลของยา prulifloxacin ต่อเชื้อ Escherichia coli สายพันธุ์ที่สร้างเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสแบบขยาย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่สาคัญของ E. coli โดยวิธี disc diffusion, วิธี broth dilution และเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การดื้อต่อยาชนิดต่างๆในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ในการศึกษานี้ใช้เชื้อในการทดสอบทั้งหมด 178 ตัวอย่าง ที่เก็บจากปัสสาวะ, เลือด, หนอง, เสมหะ และอุจจาระของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร(20 ตัวอย่าง), จังหวัดสงขลา(30 ตัวอย่าง), จังหวัดเชียงใหม่(69 ตัวอย่าง) และ จังหวัดอุบลราชธานี(59 ตัวอย่าง) ในระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เชื้อเหล่านี้มีร้อยละความไวต่อยา fosfomycin, ciprofloxacin และ prulifloxacin เท่ากับ 95, 10 และ 21 ตามลาดับ ซึ่งในการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาถึงการตอบสนองของเชื้อต่อยาชนิดต่างๆ และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพสาหรับการรักษาผู้ป่วยต่อไป
abstract:
The prevalence of antimicrobial resistance is an important global public health problem due to an inappropriate antimicrobial dispensing. One of the most common bacteria that causes diseases in many organs and widely found is Escherichia coli. Previous studies reported that Escherichia coli was resistant to many groups of antimicrobials including beta-lactams and quinolones. This experiment aims to study and evaluate the activity of prulifloxacin against extended-spectrum-beta-lactamase by disc diffusion method and broth dilution method. This study also determines the prevalence of drug resistant Escherichia coli in different regions of Thailand. This experiment used 178 samples of ESBL-E.coli that were collected from urine, blood, pus, sputum and feces of patients in Bangkok (20 samples), Songkla (30 samples), Chiang Mai (69 samples) and Ubon Ratchathani (59 samples) during January – November 2014. The results demonstrated the susceptible percent of ESBL-E.coli to fosfomycin, ciprofloxacin and prulifloxacin were 95%, 10% and 21%, respectively. This study is only an approach to study the susceptibilty of ESBL-E.coli to antibiotics and can be used as preliminary data for selecting appropriate antibiotics for treatment and prophylaxis of ESBL-E.coli infected patients.
.