การพัฒนาตำรับยาขับลมข่าชนิดผงฟู่

โดย: ณัชชา ผงศรัทธา,พรจิตร เอี่ยมอุไร    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ผงฟู่, ข่า, ยาขับลม, การพัฒนาตำรับ, ความคงตัว, Effervescent powder, Galanga, Carminative agent, Formulation, Stability
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาตำรับยาขับลมข่าชนิดผงฟู่ โดยนำสารสกัดข่ามาพัฒนาสูตรตำรับ โดยมีสารช่วยในตำรับดังนี้ คือ sucrose lactose และส่วนผสมระหว่าง sucrose กับ lactose ในอัตราส่วน 4:1 ซึ่งพัฒนาได้ทั้งสิ้น 6 ตำรับ โดย 3 ตำรับมีฤทธิ์ช่วยขับลมและอีก 3 ตำรับ จะมีฤทธิ์ช่วยขับลมและฤทธิ์ลดกรดด้วย เมื่อทำการประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครจำนวน 16 คน ผลการประเมินพบว่าสูตรตำรับที่มี sucrose ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้มีการประเมินคุณสมบัติต่างๆของตำรับ ได้แก่ ความสามารถในการไหล ค่าความเป็นกรดด่าง % loss on drying ความสามารถในการแตกตัว ฤทธิ์ลดกรดและความสามารถในการเกิดฟองฟู่ ซึ่งมีวิธีทดสอบ 2 วิธี คือ gravimetric method และ volumetric method การประเมินคุณสมบัติทำที่เวลาเริ่มต้นและเมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยแยกเก็บไว้ 2 สภาวะ คือ ที่ตู้เย็นและอุณหภูมิห้องเพื่อศึกษาความคงตัวของตำรับ ผลการศึกษาพบว่า ทุกตำรับเมื่อเก็บไว้จะมีความคงตัวลดลง แต่ที่เก็บในตู้เย็นจะมีความคงตัวดีกว่าที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
abstract:
Formulation study of galanga effervescent powder had been carried out. Galanga aqueous extract was used and the diluents studied were sucrose, lactose and the mixture of sucrose : lactose (4:1). Six formulae of galanga effervescent powder were obtained in this work. Three formulae had carminative activities whereas the other three formulae had both carminative and antacid activities. Sensory evaluation was also conducted using 16 volunteers. The formulation using sucrose diluent was approved. The physicochemical properties of galanga effervescent powder such as flowability, pH, percent loss on drying, disintegration, acid neutralizing capacity and effervescent action(using both gravimetric and volumetric methods). Stability study of galanga effervescent powder was conducted by storing galanga effervescent powder for the period of 4 weeks in the refrigerator and at room temperature. It was shown that the physicochemical properties of all samples were changed during the storage period. Additionally, the results also showed that the samples kept in refrigerator were more stable than those kept at room temperature.
.