การศึกษาลักษณะการใช้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วย HIVที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

โดย: กรเจตน์ แสนอิสระ,ชวาล ลิมัณตชัย    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV, โรคติดเชื้อฉวยโอกาส, การป้องกันโรค, HIV patients, opportunistic infection, prophylaxis
บทคัดย่อ:
กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้จัดทำ แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 / 2550 ซึ่งกำหนดแนวทางการให้ยาเพื่อการ ป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆในผู้ป่วยเอชไอวี การศึกษานี้เป็นการศึกษาจากเวชระเบียน แบบย้อนหลังเพื่อประเมินการใช้ยาป้องโรคติดเชื้อฉวยโอกาสโดยใช้แนวทางการรักษาข้างต้นเป็น เกณฑ์ ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ป่วย HIV ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีและได้รับการรักษาจาก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีในระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 – กรกฏาคม 2550 เกณฑ์การคัดออก ได้แก่ หญิงมีครรภ์และผู้ป่วยที่ขาดการติดตามเกินกว่า 1 ปี โดยทำการสุ่มเวชระเบียนผู้ป่วยที่ เข้าเกณฑ์และทำการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ จากเวชระเบียนจำนวน 225 เวชระเบียนที่ เข้าเกณฑ์พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 56.89 เป็นชาย อายุอยู่ในช่วง 31-45 ปี ในผู้ป่วยที่ได้รับการป้องกัน PCP จำนวน 180 ราย (80.00%) ผู้ป่วยจำนวน 175 ราย (97.22 %) และ 5 ราย (2.78 %) ได้รับ cotrimoxazole และ dapsone ตามลำดับ ในส่วนของความเหมาะสมของการเริ่มใช้ยาตามเกณฑ์ ของ CD4 พบว่า มีผู้ป่วย 134 ราย (74.44%) ที่ตรงตามเกณฑ์ในขณะที่ 46 ราย (25.56%) ไม่ตรง ตามเกณฑ์ ในผู้ป่วยที่ได้รับการป้องกันโรค cryptococcosis จำนวน 158 ราย (70.20 %) ผู้ป่วย ทุกรายได้รับ fluconazole 400 mg อาทิตย์ละครั้ง อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วย 76 ราย (48.10%) ที่ ได้รับยาตามเกณฑ์และพบว่ามีผู้ป่วย 82 ราย (52.90%) ที่ได้ยาโดยไม่ตรงตามเกณฑ์ สำหรับ MAC มีผู้ป่วยที่ควรได้รับยาป้องกันตามเกณฑ์จำนวน 40 ราย แต่ไม่มีผู้ป่วยรายใดได้รับยาเลย ใน ส่วนของการหยุดยา ทุกรายมีการหยุดยาที่ไม่สอดคล้องตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด เนื่องจากขาดการติดตามระดับ CD4 อย่างเป็นระบบและยังมีการใช้ยาแม้ว่าระดับ CD4 ของผู้ป่วยสูงเกินกว่าเกณฑ์ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการจัดทำมาตรการในการ ส่งเสริมให้การใช้ป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอช ไอ วีเป็นไปตามแนวทางการรักษาของ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป
abstract:
The Ministry of Public Heath has developed the National Guideline on the prophylaxis of opportunistic infection in Thailand as a measure to standardize clinical practice in this area. This study is a retrospective chart review to evaluate the pattern of opportunistic infection prophylaxis in comparison to the recommendations from the guideline. The study population was HIV-infected patients aged > 18 who received care from the Nopparat Rachathani Hospital during June 2006 – May 2007. The exclusion criteria were pregnant women and patients who lost to follow-up for > 1 year during the study period. Medical records of target population were randomly selected and analyzed. From 225 medical records included in the analysis, 56.89% were male. Age range was 31 – 45. Among 180 patients receiving PCP prophylaxis, cotrimoxazole and dapsone were used in 175 (97.2%) and 5 (2.78%) patients respectively. Initiation of prophylaxis based on CD4 count for PCP prophylaxis was in concordance to guideline in 134 (74.4%) patients while 46 (25.56%) patients were deemed not to be candidates for such prophylaxis. Among 158 patients receiving cryptococcosis prophylaxis, all patients received fluconazole 400 mg weekly. For MAC, 40 patients met the criteria to start prophylaxis but none received such treatment. Pattern in discontinuation of prophylaxis was also evaluated. It was found that mostly as a result of lack of appropriate CD4 monitoring and continuation of prophylaxis despite qualifying for discontinuation based on CD4 count improvement. Based on these findings, an intervention to improve the adherence to national guideline on prevention of opportunistic infection among HIV-infected patients is warranted.__
.