การวิเคราะห์เครื่องยา ‘สะค้าน’ โดยใช้เทคนิคทีแอลซี และการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น

โดย: นายวริศ สำราญทิวาวัลย์,นายทรงพล ธรรมวงศ์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีนา นุกูลการ , ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน , วรวรรณ กิจผาติ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: สะค้าน, ทีแอลซี, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, Sa-khan, TLC, antioxidant activity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาเครื่องยาสะค้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสะค้านสายพันธุ์ต่างๆ และระบุสายพันธุ์ของสะค้านที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสะค้านต่างสายพันธุ์ และสะค้านที่มีแหล่งที่มาแตกต่างกัน ในการวิจัยได้นำสะค้านที่ผ่านการพิสูจน์เอกลักษณ์โดยนักพฤกษศาสตร์แล้ว 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Piper leptostachyum, P. argyrites, P. ribesioides และ P. wallichii และสะค้านที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอีก 4 แหล่ง มาสกัดด้วยเมธานอลนำสารสกัดที่เตรียมได้ไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีด้วยวิธีทีแอลซี โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน คือ Piperine และ Beta-sitosterol ในการทดสอบหาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ทำการทดสอบด้วยวิธี DPPH scavenging assay ผลการวิจัยพบว่าสะค้านสายพันธุ์แตกต่างกัน ให้ปริมาณเนื้อสารสกัดไม่เท่ากัน, มีองค์ประกอบทางเคมีไม่เหมือนกัน ทั้งชนิดและปริมาณสารเคมี และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นไม่เท่ากัน ในส่วนของการวิเคราะห์สะค้านตัวอย่างที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด พบว่าสะค้านตัวอย่างทั้ง 4 ตัวอย่างมีองค์ประกอบทางเคมีคล้าย P. wallichii แต่มีปริมาณสารเคมีไม่เท่ากัน นอกจากนี้สะค้านตัวอย่างทั้ง 4 ตัวอย่าง ให้ปริมาณเนื้อสารสกัดและมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นไม่เท่ากัน
abstract:
The objectives of this experiment were to determine chemical compounds and antioxidant activity of various species of crude drug ‘Sa-khan’. Identification species of Sa-khan in traditional medicine which taken from different locations was studied as well. To perform experiment, four reference species of Sa-khan which identified by botanist i.e. Piper leptostachyum, P. argyrites, P. ribesioides and P. wallichii and four samples which selected from various traditional medicine shop were extracted by methanol. The chemical constituent of each extract was identified by thin layer chromatography and compared with two standard compounds, piperine and Beta-sitosterol. Antioxidant activity testing was achieved by DPPH scavenging assay method. The finding showed that each species of Sa-khan gave different %-yield, chemical components, both in quantity and quality and antioxidant activity. Interestingly, four samples showed chemical constituents similar to P. wallichii, but %-yield, quantity of chemical compounds and antioxidant were different.
.