พิสูจน์ชนิดว่านชักมดลูกโดยใช้วิธีรงคเลขผิวบางและอัลตราไวโอเลตสเปกโทรสโคปี

โดย: นางสาวฉวีวรรณ สุวรรณเวโช, นางสาวฐารดา โพธิ์วรรณ    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , นงลักษณ์ เรืองวิเศษ , ปิยนุช โรจน์สง่า    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ว่านชักมดลูก, วิธี Thin layer chromatography, วิธี Ultraviolet spectroscopy, Curcuma comosa Roxb., Curcuma latifolia Roscoe, Thin layer chromatography, Ultraviolet spectroscopy
บทคัดย่อ:
ว่านชักมดลูกเป็นสมุนไพรที่ใช้สาหรับรักษาโรคสตรีมานาน และมีผลิตภัณฑ์มากมายในปัจจุบัน แต่เนื่องจากว่านชักมดลูกมีหลายชนิด เช่น ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน ช่วยเสริมสุขภาพสตรีวัยทอง และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia) ซึ่งมีพิษ ฉะนั้นโครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ชนิดของว่านชักมดลูกที่มีขายในท้องตลาดทั้งที่เป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้เป็นฐานข้อมูลของว่านชักมดลูกที่มีจาหน่ายในพื้นที่ต่างๆ โดยรวบรวมตัวอย่างสมุนไพรที่มีชื่อเรียกว่าว่านชักมดลูกจากพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งที่เป็นเหง้าสดและตากแห้ง 27 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ 8 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งว่านชักมดลูกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (C. comosa) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (C. latifolia) โดยอาศัยลักษณะของเหง้าสด ซึ่งว่านชักมดลูกตัวเมียจะมีแขนงเล็กและสั้นกว่า กลิ่นคล้ายมะม่วงอ่อน ทั้งนี้ลักษณะภายนอกของเหง้าสด เหง้าตากแห้ง และผงของว่านชักมดลูกนั้นมีความหลากหลายและเป็นการยากในการจาแนก การพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้รงคเลขผิวบาง และอัลตราไวโอเลตสเปกโทรสโคปีสามารถจาแนกพืชออกเป็น 2 ชนิดได้อย่างชัดเจน จุลทรรศน์ลักษณะพบความแตกต่างของเม็ดแป้งของว่านชักมดลูกทั้ง 2 ชนิด จากตัวอย่างที่เก็บจากพื้นที่ต่างๆ พบว่าว่านชักมดลูกส่วนใหญ่ที่พบเป็นว่านชักมดลูกตัวเมีย โดยพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นส่วนใหญ่เป็นว่านชักมดลูกตัวผู้ ดังนั้นควรเก็บรวบรวมตัวอย่างมาทาการพิสูจน์เอกลักษณ์ให้มากขึ้น เพื่อจะได้ครอบคลุมทั้งประเทศ และใช้เก็บเป็นฐานข้อมูลของแต่ละพื้นที่ว่าพื้นที่ใดพบว่านชัก-มดลูกชนิดใดบ้าง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
abstract:
Wan Chuk Motluk, a Thai medicinal plant which has been used in traditional women remedies, is now widely commercialized in many forms of products. But Wan Chuk Motluk could be classified into many species, especially, Curcuma comosa which has estrogenic activity, and Curcuma latifolia which has toxicity. Therefore, the objectives of this study are to identify Wan Chuk Motluk both raw materials and products sold in Thailand and to protect consumers by build up the database of Wan Chuk Motluk from different areas of Thailand. In this study, 27 samples, fresh and dry rhizomes, and 8 market products called “Wan Chuk Motluk” were collected from various parts of Thailand. The results showed that Wan Chuk Motluk could be classified into 2 main species: C. comosa and C. latifolia. The organoleptic characteristics showed that C. comosa had young mango-like odor with smaller and shorter sessile tubers compared to C. latifolia. However, organoleptic characteristics of fresh and dry rhizomes and powder were not easily identified. Nevertheless, Wan Chuk Motluk could be classified explicitly into 2 species by means of thin layer chromatography (TLC) and UV/vis spectroscopy. Microscopic characteristics found the difference of starch granule between 2 species. From the results, C. comosa was found in central, north, west and south part of Thailand. C. latifolia was found in the north-eastern part. Thus, in the next study, more samples should be collected to identify for building up the database representing Wan Chuk Motluk in all area of Thailand for consumer protection.
.