การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการชงชาใบรางจืด (Thunbergia laurifolia) ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง

โดย: นางสาวกรกนก รักษาสกุลวงศ์, นายคมสัน รวยทรัพย์ทวี    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: กชพรรณ ชูลักษณ์ , ปิยนุช โรจน์สง่า , ปองทิพย์ สิทธิสาร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ชาชงใบรางจืด, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, วิธีพื้นผิวตอบสนอง, caffeic acid, rosmarinic acid, Thunbergia laurifolia tea, antioxidant, response surface methadology, caffeic acid, rosmarinic acid
บทคัดย่อ:
รางจืด (Thunbergia laurifolia Linn) เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณใช้สำหรับแก้ร้อนใน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมาจากยาฆ่าแมลง เป็นต้น และมีรายงานว่าสารสกัดน้ำใบรางจืดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการใช้ยาชงรางจืดในโรงพยาบาลวังน้ำเย็น พบว่าเภสัชกรได้แนะนำวิธีการชงให้แก่ผู้ป่วยแตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้ได้ปริมาณสารสำคัญ รวมถึงประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของชาแตกต่างกันอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะในการชงชงใบรางจืด ที่ทำให้มีปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำชามากที่สุด
abstract:
The trumpet vine Thunbergia laurifolia Linn. is a Thai medicine plant known as “Rang Cheud”. It has been used as an antidote for anti-fever, detoxification and first-aid treatment of poisoning from insecticide, etc. In addition, the leaves of T. laurifolia have also been described as a good source of natural antioxidant activity. However, it was found that patients at Wang-Nam-Yen hospital have been suggested to infuse the tea in different conditions which may affect the amount of active ingredient dissolved in tea solution and its efficacy.
.