การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

โดย: นางสาวเบญจพร เศวตไกรพ,นางสาวปณิตา รัตนมหาวงศ์    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: เครื่องดื่มสมุนไพร, เบาหวาน, ใบหม่อน, เจียวกู่หลาน, ว่านหางจระเข้, สารให้ความหวาน, Herbal drinks, Mulberry tree, Morus alba L., Jiaogulan, Gynostemma pentaphyllum (Thunb.) Makino, Aloe vera (L.) Burm.f, Aspartame
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาสูตรเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ป่วยเบาหวาน รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่มีความใส่ใจในสุขภาพ ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของสมุนไพรซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในสูตรเครื่องดื่ม และการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารให้ความหวานในสูตรตำรับ หลังจากนั้นนำสูตรเครื่องดื่มที่พัฒนาขึ้น มาประเมินทางประสาทสัมผัสโดยวิธี 9 - Point Hedonic scale โดยสุ่มอาสาสมัครจำนวน 30 - 40 คนทำการทดสอบ และวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยโปรแกรม Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) โดยใช้การแปลผลทางสถิติด้วยวิธี Duncan’s multiple range test พบว่าสูตรเครื่องดื่มสมุนไพรซึ่งประกอบไปด้วย ใบหม่อน 0.7 ร้อยละน้ำหนักต่อปริมาตร, ใบเจียวกู่หลาน 0.1 ร้อยละน้ำหนักต่อปริมาตร และว่านหางจระเข้ 30 ร้อยละน้ำหนักต่อปริมาตร ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก มีคะแนนความชอบเฉลี่ยมากที่สุดใน 3 สูตร คือ 6.294 คะแนน เมื่อนำสูตรที่ได้มาพัฒนาต่อโดยเปลี่ยนแปลงปริมาณแอสปาร์แตม พบว่าสูตรเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีปริมาณแอสปาร์แตม 200 มิลลิกรัม มีคะแนนความชอบเฉลี่ยมากที่สุด คือ 6.400 คะแนน ทางผู้วิจัยจึงเลือกสูตรตำรับดังกล่าวมาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบค่า IC50 ของเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเท่ากับ 8.154 มิลลิกรัม/มิลลิตร, มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 23.15 mgAAE/1 g of dry extract และทำการทดการสอบหาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิก (Total phenolic compound) พบว่าเท่ากับ 0.9724 gGAE/100g of dry extract
abstract:
The aim of this special project was to develop herbal drinks to be alternative choice for diabetic patient or healthy lifestyle people. The process of developing includes modification ratio of component and modification quantity of sweetener. After that the test acceptability was evaluated by sensory evaluation using 9 - point Hedonic Scale method was carried out among 30 - 40 volunteers. According to Duncan’s multiple range test by SPSS program, the herbal drinks formula consists of “mulberry leaves 0.7% w/v, jiaogulan 0.1% w/v and aloe vera gel 30% w/v” received the highest mean score of overall test acceptability at 6.294 points. This formula was selected to develop by using different quantity of aspartame. The result revealed that the herbal drinks consist of 200 mg obtained the highest mean score of overall test acceptability at 6.400 points. Then the herbal drink was analyzed antioxidant and total phenolic compounds by using DPPH assay and Folin-ciocalteu method, respectively. The IC50 of this herbal drink was 8.154 mg/mL, Ascorbic acid equivalent was 23.15 mg AAE/ 1 g of dry extract and Total phenolic content was 0.9742 gGAE/100g of dry extract.
.