ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

โดย: พลกฤติ ศิริพรโภคา,พัชรินทร์ สุดยาใจ    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์ , จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , ศรันย์ กอสนาน , อรภรณ์ สวนชัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม,ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม, Pharmaceutical care, patients with Alzheimer
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาใน ผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาแก่ผู้ป่วย โดยทำการศึกษา ณ คลินิก ความจำ สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 จากการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจำนวน 30 คน ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 53- 85 ปี มีผู้ที่ได้รับวินิจฉัยเป็น dementia ทั้งหมด 28 คน โดยเป็น probable Alzheimer’s dementia (AD) 2 คน, frontotemporal dementia 1 คน ส่วนที่เหลืออีก 25 คน เป็น dementia ที่ยังไม่สามารถ แยกประเภทได้ ที่เหลือเป็น mild cognitive impairment (MCI) 2 คน จากการสัมภาษณ์และข้อมูล จากเวชระเบียนพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 42 ปัญหา ได้แก่ 1) เกิดอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา 12 ปัญหา เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมจากการใช้ยา trazodone 2) ไม่ได้รับการ รักษาอาการที่เกิดขึ้น 12 ปัญหา เช่น ผู้ป่วยมีภาวะความจำที่ลดลง แต่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่าย acetylcholinesterase inhibitors 3) การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา 7 ปัญหา เช่น การที่ผู้ป่วยได้รับยา fluoxetine กับ haloperidol และ trazodone ร่วมกัน 4) แพทย์เลือกใช้ยาไม่เหมาะสมกับอาการที่ ผู้ป่วยเป็น 6 ปัญหา เช่น การได้ยา orphenadrine (มีฤทธิ์ anticholinergic effect) ในผู้ป่วยสมองเสื่อม 5) non-compliance 5 ปัญหา เช่น ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา จากข้อมูลข้างต้น เภสัชกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะสมอง เสื่อมรวมทั้งให้ความรู้เรื่องการใช้ยาแก่ผู้ดูแล ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่ได้ จากโครงการพิเศษครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม ใน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ณ คลินิกความจำต่อไป
abstract:
The objectives of this special project were to determine and evaluate the appropriate used of drugs in demented patients and also to solve drug-related problems (DRPs). The study was performed at memory clinic, Somdet Chao Praya Institute of Psychiatry during July to September 2007. The pharmaceutical care was performed in 30 demented cases age range between 53-85 years. Twenty-eight patients had dementia. Of these, 2 patients were probable Alzheimer’s dementia (AD), 1 patient was frontotemporal dementia and the rest cannot be ruled out. The other 2 cases were mild cognitive impairment (MCI). Forty-two DRPs were identified from interviewing the patients and medical records. Categories and the number of DRPs are as follows: 1) twelve adverse drug reactions were identified e.g. syncope from trazodone 2) twelve problems of untreated indication e.g. patient did not receive acetylcholinesterase inhibitors to treat memory impairment 3) seven problems of drug-drug interaction e.g. fluoxetine in combination with haloperidol and trazodone 4) six problems of improper drug use e.g. orphenadrine in demented patient 5) five problems of noncompliance e.g. patient refused to take medication. From this study, pharmacists can play a major role in resolving drug-related problems. Furthermore, pharmacists can educate caregivers concerning drug knowledge in order to increase the effectiveness of treatment. The data from this study can be applied to develop a pharmaceutical care model for demented patients in memory clinic in the future.
.