การเตรียมและประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของไลโปโซมสารสกัดรากสามสิบ

โดย: นางสาวสิริลักษณ์ พาประจง, นายสุธาธาร อุทัยเก่า    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ไลโปโซม, สารสกัดรากสามสิบ, วิธีทิน-ฟิล์ม ไฮเดรชั่น, วิธีรีเวร์สเฟสอีแวปโพเรชั่น , Liposomes, Asparagus racemosus extract, thin-film hydration method, reverse-phase evaporation method
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับไลโปโซมของสารสกัดรากสามสิบ ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง เช่น มีฤทธิ์ phytoestogenic effect, anti-diarrhoeal effect, anti-dyspepsia effect, anti-bacterial effect และมีฤทธิ์เป็น antioxidant effect เป็นต้น ในโครงการพิเศษนี้ตำรับไลโปโซมถูกเตรียมโดยวิธีทินฟิล์มไฮเดรชั่นและวิธีรีเวร์สเฟส อีแวปโพเรชั่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของสารฟอสโฟลิปิดคือฟอสโฟไลปอน90Gหรือเลซิทินเป็นไลปิดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงตัวทำละลายอินทรีย์ที่ใช้คือคลอโรฟอร์มหรือไดคลอโรเมเทนในการเตรียม พร้อมกับมีการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของไลโปโซมที่ได้ ได้แก่การประเมินลักษณะ ชนิด ขนาด และปริมาณการกักเก็บยาในไลโปโซม จากผลที่ได้พบว่าไลโปโซมที่เตรียมโดยวิธีทินฟิล์มไฮเดรชั่น ตำรับที่ใช้ฟอสโฟไลปอน90G เป็นไลปิดโครงสร้างและใช้คลอโรฟอร์มเป็นตัวทำละลายมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีที่สุด ส่วนตำรับที่มีเลซิทินเป็นไลปิดโครงสร้างและใช้ไดคลอโรมีเทนเป็นตัวทำละลายมีคุณสมบัติทางกายภาพด้อยที่สุด แต่พบว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างตำรับที่ใช้ไลปิดโครงสร้างเหมือนกันแต่ใช้ตัวทำละลายแตกต่างกันพบว่ามีคุณสมบัติทางกายภาพไม่แตกต่างกันมากนัก การประเมินผลตำรับไลโปโชมที่เตรียมโดยวิธีรีเวร์สเฟสอีแวปโพเรชั่นพบว่ามีผลที่ไม่แตกต่างจากตำรับที่เตรียมโดยวิธีทินฟิล์มไฮเดรชั่น
abstract:
The objective of this study was to develop liposomal formulations of Asparagus racemosus extract, which has been reported to have numerous pharmacological actions such as phytoestogenic, anti-diarrhoeal, anti-dyspepsia, anti-bacterial, and antioxidant effects, etc. Liposomes were prepared by thin film hydration and reverse-phase evaporation methods with varying types of phospholipids, i.e., Phospholipon 90G or lecithin as structural lipid, and varying organic solvents, i.e., chloroform or dicloromethane. The physical properties such as morphology, type, size, and drug entrapment of the prepared liposomes were evaluated. The results revealed that liposomes prepared by thin film hydration method using Phospholipon 90G as structural lipid and chloroform as solvent possessed the best physical properties, whereas those using lecithin as structural lipid and dichloromethane as solvent possessed inferior physical properties. However, liposomes prepared by using the same structural lipid but different solvents exhibited similar physical properties. In addition, Liposomes prepared by either by thin film hydration or reverse-phase evaporation methods showed almost the same physical properties.
.