การพัฒนาตำรับยาเม็ดแคลเซียมอะซิเตด

โดย: นายก่อเกียรติ์ ปานผาสุข ,น.ส.วริษา ซึงถาวร    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ยาเม็ดแคลเซียมอะซิเตด, ยาเม็ดแคลเซียมคาร์บอเนต, ยาเม็ดแคลเซียมผสม, calcium acetate tablets, calcium carbonate tablets, mixed calcium tablets
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาตำรับยาเม็ดแคลเซียมอะซิเตดโดยใช้วิธีตอกเป็นเม็ดโดยตรงและอัดในแม่พิมพ์ จากการศึกษาคุณสมบัติของแคลเซียมอะซิเตดพบว่าแคลเซียม อะซิเตดสามารถนำมาตอกเป็นเม็ดโดยวิธีตอกตรงได้ และสามารถทำเป็นยาเม็ดแคลเซียมผสมระหว่างแคลเซียมอะซิเตดและแคลเซียมคาร์บอเนตได้ โดยที่ต้องมีการใส่สารช่วยลื่น คือ แมกนีเซียมสเตียเรตเพิ่มในตำรับ ยาเม็ดแคลเซียมผสมที่ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพเข้ามาตรฐาน คือ มีความแข็ง 5.37 กิโลกรัม ความกร่อน 0 % และเวลาที่ใช้ในการแตกตัว 7 นาที อย่างไรก็ตามพบว่ายาเม็ดแคลเซียมที่เตรียมโดยการอัดเป็นเม็ดโดยใช้แม่พิมพ์ในการขึ้นรูป โดยสารละลายที่นำมาใช้เป็นตัวทำละลาย คือ สารละลายผสมระหว่างนํ้าและ 95 % เอธานอล มีคุณสมบัติทางกายภาพไม่เข้ามาตรฐานในหัวข้อความกร่อนโดยพบว่ายาเม็ดที่ได้มีความแข็ง 8.6 กิโลกรัม และเวลาที่ใช้ในการแตกตัว 3 นาที 38 วินาที แต่มีความกร่อนสูงถึง 26.57 %
abstract:
This special project aims at developing calcium acetate tablets by using direct compression and mold method. The results show that calcium acetate could be compressed by using direct compression method. It was also shown that mixed calcium tablets which were combination of calcium acetate and calcium carbonate, could be compressed successfully after an addition of lubricant, magnesium stearate, into the formulation. The tablets had satisfactory physical properties, i.e., hardness, friability, disintegration time of the mixed calcium tablets was 5.37 kilograms, 0 % and 7 minutes, respectively. However, calcium acetate tablets prepared by molding method using 95 % ethanol as a solvent did not have satisfactory physical properties. It was found that hardness and disintegration time was 8.6 kilograms and 3 minutes and 38 second, respectively whereas friability of 26.57 % was considered unacceptable.
.