การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการทำงานของเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสของสารสกัด ใบกฤษณาในหลอดทดลอง

โดย: นางสาวปาจรีย์ ไทยอ่อน,นางสาวอัญชีรา นิพัทธ์พันธุ์    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: ศวิตา จิวจินดา , วิลาสินี หรัญพานิช ซาโตะ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: ใบกฤษณา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรส, ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด, ปริมาณฟลาโวนอยด์, Aquilaria crassna leaf, Mangiferin, Antioxidative activity, Anticholinesterase activity, Total phenolic, Flavonoid
บทคัดย่อ:
กฤษณา จัดอยู่ในวงศ์ Thymelaeceae ซึ่งใบของกฤษณาเคยมีการรายงานฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแต่ฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสยังไม่เคยมีรายงาน ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้จึงทำการยืนยันฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทดสอบฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสของสารสกัดน้ำและเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 ปริมาตรต่อปริมาตรของใบกฤษณา โดยจากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีผิวบางและหาปริมาณสารสำคัญด้วยวิธีโครมาโตกราฟีสมรรถนะสูงพบว่าสารเมนจิเฟอลินเป็นองค์ประกอบหลักที่พบในใบกฤษณา โดยสารสกัดน้ำและเอทานอล พบปริมาณร้อยละ 18.27 ± 0.06 และ 19.70 ± 0.10 ปริมาตรต่อปริมาตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำและเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ามีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ซึ่งวัดโดยวิธี DPPH เท่ากับ 27.56 ± 1.11 และ 29.02 ± 0.39 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่วัดโดยวิธี ABTS มีค่าเท่ากับ 568.69 ± 74.37 และ 460.37 ± 55.66 มิลลิกรัมสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรัมตัวอย่าง และค่า FRAP เท่ากับ 1895.67 ± 82.98 และ 1481.33 ± 68.97 มิลลิโมลเฟอรัสต่อสารตัวอย่าง 100 กรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดน้ำและเอทานอลเท่ากับ 22.78 ± 0.80 และ 21.07 ± 1.24 กรัมกรด แกลลิคต่อสารตัวอย่าง 100 กรัม ตามลำดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์เท่ากับ 9.41 ± 0.46 และ 9.08 ± 1.09 กรัมเควอซิตินต่อสารตัวอย่าง 100 กรัม ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์อะซี-ติลโคลีนเอสเตอเรสด้วยวิธีของเอลแมนพบว่าค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ของสารสกัดน้ำและเอทานอลมีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (735.82 ± 51.15 และ 665.52 ± 22.47 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ)
abstract:
Aquilaria crassna belongs to the Thymelaeceae family. This plant’s leaves have been reported to be effective for antioxidant but anticholinesterase activity has not been determined yet. Therefore, the antioxidant was confirmed and anticholinesterase activity was evaluated in water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves. The results obtained by thin layer chromatography (TLC). The high performance thin layer chromatography (HPTLC), found that mangiferin was the major component of A. crassna leaves. The content of mangiferin in water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves were 18.27 ± 0.06 and 19.70 ± 0.10 % w/w, respectively. The antioxidant activity of water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves were not significantly different. The antioxidant activity of water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves determined by IC50 of DPPH were 27.56 ± 1.11 and 29.02 ± 0.39 µg/mL; ABTS were 568.69 ± 74.37 and 460.37 ± 55.66 mg TEAC/g extract; and by FRAP were 1895.67 ± 82.98 and 1481.33 ± 68.97 mmol Fe2+/100 g extract, respectively. In addition, total phenolic content from water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves were 22.78 ± 0.80 and 21.07 ± 1.24 g GAE/100 g extract, respectively and flavonoid content were 9.41 ± 0.46 and 9.08 ± 1.09 g QE/100 g extract, respectively. The anticholinesterase activity was determined by Ellman’s method found that IC50 of water and 50% ethanol extracts of A. crassna leaves were not significantly different between each group (735.82 ± 51.15 and 665.52 ± 22.47 µg/mL, respectively).
.