รูปแบบการสั่งจ่ายยา ณ โรงพยาบาลสงฆ์

โดย: กิตติพงศ์ ตั้งจิตตรง,พันศักดิ์ พัฒนผลไพบูลย์    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล , อำพล ไมตรีเวช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: รูปแบบการสั่งจ่ายยา, ปัญหาที่เกี่ยวกับยา , prescribing pattern, drug-related problems
บทคัดย่อ:
รูปแบบการสั่งจ่ายยาแก่ผู้ป่วยอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวกับยา โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสั่งจ่ายยา วิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับยาและหาแนวทางพัฒนากิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรมของโรงพยาบาลสงฆ์ โดยทำการสุ่มใบสั่งยาผู้ป่วยนอก 1 ใบจากทุก 10 ใบย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ศึกษารูปแบบการสั่งจ่ายยาและวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับยาตามนิยามของแสตรนด์ รวบรวมใบสั่งยาได้ทั้งสิ้น 1,064 ใบ จากผู้ป่วย 1,047 คน เป็นผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 43.2) และเป็นใบสั่งยาที่มียาตั้งแต่ 5 ถึง 12 ชนิดต่อ 1 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ 25.7 โดยมีฐานนิยมคือ ใบสั่งยาที่มียา 2 ชนิด (ร้อยละ 21.8) วิตามินและเกลือแร่เป็นกลุ่มยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.1 ของใบสั่งยาทั้งหมด ยาที่จ่ายมากที่สุดคือ วิตามินบี1- 6–12 (ร้อยละ 46.2 ของยาทั้งหมดในกลุ่ม) ปัญหาที่เกี่ยวกับยาที่พบคือ ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องแต่ขนาดน้อยเกินไป (ร้อยละ 5.8 ของใบสั่งยาที่มีปัญหาทั้งหมด) ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องแต่ขนาดมากเกินไป (ร้อยละ 1.3 ของใบสั่งยาที่มีปัญหาทั้งหมด) พบคู่ยาที่คาดว่าจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา 27 คู่ เป็นความถี่ทั้งหมด 124 ครั้ง จัดเป็นคู่ยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ 1 4 คู่ รวม 40 ครั้ง (ร้อยละ 32.3) คู่ยาที่พบมากที่สุดคือ isoniazid กับ rifampin (ร้อยละ 50) และพบปัญหาการใช้ยาในลักษณะอื่น ๆ ในใบสั่งยา 30 ใบ (ร้อยละ 19.2 ของใบสั่งยาที่มีปัญหาทั้งหมด) ได้แก่ปัญหาการสั่งใช้ยาเกินจำเป็น 12 ใบ (ร้อยละ 40) และการจ่ายยาซ้ำซ้อน 18 ใบ (ร้อยละ 60) ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การจ่าย Norgesic® ร่วมกับ Mydocalm® (ร้อยละ 16.7) จึงควรมีการพัฒนากิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเฉพาะการให้บริการเภสัชสนเทศ และการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงรูปแบบการสั่งจ่ายยาและป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยา
abstract:
Prescribing pattern is one of the factors which may cause drug-related problems (DRPs). The objectives of this special project were to study prescribing pattern, to detect DRPs and to propose a guide for pharmaceutical care activities at Priest Hospital. Outpatient prescriptions during March 1 to May 31, 2000 were 1 in 10 randomly selected. Prescribing pattern and DRPs as defined by Strand were assessed. One thousand and sixty-four prescriptions from 1,047 patients were reviewed. Most of the patients were elderly, older than 60 years old (43.2%). Five to twelve items of drugs per prescription were identified in 25.7% of all prescriptions, with 2 items of the drugs as mode (21.8%). Vitamins and minerals were prescribed with the highest frequency of 18.1%. The highest prescribed drug was vitamin B1-6-12 (46.2%). DRPs were identified as underdosage 5.8% and overdosage 1.3% of all prescriptions with DRPs. Potential drug–drug interactions were detected in 27 pairs of drugs with 124 episodes. Four pairs of them, with 40 episodes (32.3%), were classified with clinical significance level 1. The highest frequency of potential drug-drug interaction was isoniazid vs rifampin (50%). Miscellaneous DRPs were detected in 30 prescriptions (19.2%). Twelve prescriptions (40%) contained too large number of particular drug. While 18 prescriptions (60%) contained drugs with the same pharmacological action. Norgesic® with Mydocalm® were the most frequently repeated drugs (16.7%). It was suggested that pharmaceutical care activities should be developed particularly drug information service and patient counseling in order to improve prescribing pattern and to prevent or correct DRPs.
.