การเตรียมอนุภาคนาโนของสารแอลฟาแมงโกสติน ด้วยวิธีการแทนที่ตัวทาละลาย

โดย: นางสาวณัฐณิชา สุวิพร, นางสาวศศิธร พวงทอง    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: วารี ลิมป์วิกรานต์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: แอลฟาแมงโกสติน, สารแขวนตะกอนระดับนาโน, การแทนที่ตัวทาละลาย, Spinning disk reactor, Alpha-mangostin, Nanosuspension, Solvent displacement method, Spinning disk reactor
บทคัดย่อ:
แอลฟาแมงโกสตินเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางยามากมายแต่มีขีดการละลายต่าทาให้มีปัญหาด้านการพัฒนาตารับโครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแอลฟาแมงโกสตินในรูปแบบสารแขวนตะกอนที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร (nanosuspension) ในน้าและมีความคงตัวดีด้วยวิธีการแทนที่ตัวทาละลาย (solvent displacement) โดยในการศึกษาขั้นต้นจะใช้ magnetic stirrer ช่วยผสมเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม พบว่าสารเพิ่มความคงตัวที่เหมาะสมคือ poloxamer407 และ Soluplus® ความเข้มข้นของสารละลายแอลฟาแมงโกสตินและสารเพิ่มความคงตัวคือ 0.4%w/v และ 1%w/v ตามลาดับ และผสมในสัดส่วน 1:2, 1:5, 1:10 จากนั้นเตรียมตัวอย่างโดยใช้ spinning disk reactor (SDR) ด้วยสภาวะดังกล่าวพบว่าได้เป็นสารแขวนตะกอนของแอลฟาแมงโกสตินที่มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโนเมตรและกระจายตัวได้ดีในวัฏภาคน้า การใช้ Soluplus® จะได้สารแขวนตะกอนที่มีขนาดอนุภาค 87.69-170.8 nm, polydispersity index (PDI) 0.023-0.159 และ zeta potential (-0.855)-(-4.1) mV ส่วนการใช้ poloxamer407 จะได้สารแขวนตะกอนที่มีขนาดอนุภาค 30.09-35.25 nm, PDI 0.143-0.357 และ zeta potential (-7.49)-(-13.9) mV การศึกษาความคงตัวโดยเก็บที่อุณหภูมิ 30 oC เป็นเวลา 7, 14, 21, 28, 42 และ 56 วัน พบว่าขนาดอนุภาคและการกระจายของขนาดอนุภาคเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการใช้วิธีการแทนที่ตัวทาละลายโดยการใช้ SDR และสารเพิ่มความคงตัวที่เหมาะสมทาให้สารแอลฟาแมงโกสตินเป็นอนุภาคระดับนาโนเมตรที่กระกระจายตัวและมีความคงตัวดีในน้าได้และยังเป็นวิธีที่ได้ผลผลิตปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิต
abstract:
Alpha-mangostin has many pharmacological properties but its aqueous solubility is poor (solubility 0.2±0.2 mcg/ml), thus limits the formulation development. The aim of this study is to prepare a stable alpha-mangostin nanosuspension using solvent displacement method. Magnetic stirrer is used as preliminary study to determine appropriate condition for a small particle size and finely dispersed alpha-mangostin suspension. It was found that the appropriate solubilizers are poloxamer407 and Soluplus®, the concentration of alpha-mangostin and solubilizers are 0.4%w/v and 1%w/v respectively, and the solution ratio of alpha-mangostin and solubilizers are 1:2, 1:5 and 1:10. Alpha-mangostin nanosuspensions were then prepared by spinning disk reactor. When Soluplus® was used as solubilizer, it yielded alpha-mangostin nanosuspension which had the particle size in the range of 87.69-170.8 nm, polydispersity index (PDI) 0.023-0.159 and zeta potential (-0.855)-(-4.1) mV. While, the used of poloxamer407 as solubilizer gave smaller particle size in the range of 30.09-35.25 nm, PDI 0.143-0.357 and zeta potential (-7.49)-(-13.9) mV. Moreover, the alpha-mangostin nanosuspensions were quite stable because there were little change in the particle size and polydispersity index when the nanosuspensions were stored in the incubator at 30oC for 7, 14, 21, 28, 42 and 56 days. In conclusion, the solvent displacement method using spinning disk reactor and appropriate solubilizers yielded alpha-mangostin nanoparticles in finely dispersed suspension and could produce a large amount of nanosuspension within a short period of time which are benefits for manufacturing industries.
.