การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายจากนํ้ามันกระเบา

โดย: นางสาวณัฏฐนันท์ ธนวัฒน์ขจรยศ,นายณัฐพล ธนาวุฒิกุล    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีณา จิรัจฉริยากูล , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: กระเบา, นํ้ามันกระเบา, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, สบู่, Hydnocarpus antihelminthicus, Krabao oil, Cleansing product, Soap
บทคัดย่อ:
จากโครงการพิเศษเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากนํ้ามันกระเบาในปี 2557 โดยใช้นํ้ามันปริมาณ 30%w/w ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบ โครงการจึงได้มีการพัฒนาต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์เดิมที่อยู่ในรูปครีมทาผิว ให้อยู่ในรูปครีมอาบนํ้าที่มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดผิวกาย โดยได้ปรับเปลี่ยนสารในสูตรตำรับ คือ สารก่ออิมัลชัน จาก Tween 80 กับ Span 80 เป็น Cremophor® A6 กับ Cremophor® A25, สารช่วยทำอิมัลชัน (auxillary emlsifier) จากเดิมใช้ Carbopol 940 เป็น Carbopol Ultrez® 20, และปรับปริมาณของ stearyl alcohol กับ cetyl alcohol ทั้งยังได้เติมสารลดแรงตึงผิวเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำความสะอาด คือ sodium lauryl ether sulfate (SLES) และ cocamidopropyl betaine โดยปริมาณของสารลดแรงตึงผิวจะมีผลต่อความสามารถในการเกิดฟอง และความคงตัวของตำรับ หลังจากได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตามต้องการแล้วจะประเมินความคงตัวจากวิธี freeze and thaw 3 cycles เพื่อหาสูตรที่คงตัวที่สุด พบว่าลักษณะของผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวที่เติมลงไป หากเติมในปริมาณที่มากจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหนืดมากแต่ไม่มีความเหนอะ สามารถล้างออกได้ง่าย และมีการประเมินความพึงพอใจ เพื่อให้ได้ตำรับที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
abstract:
According to a special project of a product developed from chaulmoogra oil in 2015. We used 30% w/w oil, which was an antibacterial for the treatment of skin diseases and anti-inflammation. We transformed the old product that was a body lotion and developed it into a shower cream. Based on the original formula, we converted some emulsifying agents that were Tween 80 and Span 80; to Cremophor® A6 and Cremophor® A25. Also for the auxiliary emulsifier that was Carbopol 940, we changed it to Carbopol Ultrez® 20. Moreover, we adjusted the volume of stearyl alcohol and cetyl alcohol, as well as increased the surfactant which were sodium lauryl ether sulfate (SLES) and cocamidopropyl betaine in order to increase the cleansing ability. Therefore, the amount of surfactant affected the foaming ability and the stability of the formula. After we completed the finishing product that we looked for, we evaluated its stability from freeze and thaw 3 cycles to be able to find the most stable one. We found that the product appearance depended on the concentration of surfactant that we incorporated. It we use a large amount of surfactant then it would increase the viscosity of the product without being sticky, so it is easily washable. Finally, we evaluated satisfaction the product in order to get the most satisfying formulation.
.