ผลของความหนืดของhydroxypropylcelluloseและ Povidone ต่อการเป็นสารช่วยยึดเกาะ

โดย: ศิรินุช พิชนาหะรี,สุรีย์พร เนตรสว่าง    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนต์ชุลี นิติพน , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของความเข้มข้นของ Hydroxypropylcellulose (HPC) และ Povidone (PVP) ที่ใช้เป็นสารยึดเกาะ ในตำรับยาเม็ดไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (HCTZ) โดยใช้แลกโตส เป็นสารเพิ่มปริมาณ และใช้สารยึดเกาะที่ความเข้มข้น 8%, 10%, 12%, 14% และ 16% ของตำรับ การประเมินคุณสมบัติของแกรนูลที่ได้โดยการวัดขนาดแกรนูลโดยการแร่ง (sieve analysis) และคุณสมบัติของยาเม็ดที่ประเมิน คือ น้ำหนัก ความแข็ง ความหนา ความกร่อน การแตกตัว และการละลายจากการศึกษาขนาดเฉลี่ยและการกระจายขนาดของแกรนูลในสารยึดเกาะทั้ง 2 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มข้นเดียวกันพบว่า การใช้ HPC เป็นสารยึดเกาะในตำรับยาเม็ดจะให้ขนาดเฉลี่ยของแกรนูลใหญ่กว่าการใช้ PVP เป็นสารยึดเกาะ แต่ที่ความเข้มข้น 14% และ 16% แกรนูลที่ได้จากการใช้ PVP เป็นสารยึดเกาะจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อใช้ HPC และจากการใช้สารยึดเกาะทั้ง 2 ชนิดนี้จะให้แกรนูลขนาด 40/50 mesh เป็นจำนวนมากที่สุดจากการประเมินคุณสมบัติของยาเม็ด พบว่ายาเม็ดเมื่อใช้สารยึดเกาะที่ความเข้มข้นเท่ากัน การใช้ HPC จะให้ยาเม็ดที่มีความแข็งมากกว่าการใช้ PVP เป็นสารยึดเกาะ แต่สารยึดเกาะที่ความเข้มข้น 16% พบว่าการใช้ PVP จะให้ความแข็งมากกว่า สำหรับความกร่อนของยาเม็ดพบว่าความเข้มข้นของสารยึดเกาะไม่มีผลมากนักต่อความกร่อน การแตกตัวของยาเม็ดขึ้นกับชนิดและความเข้มข้นของสารยึดเกาะ การใช้ปริมาณสารยึดเกาะน้อยจะทำให้ยาเม็ดแตกตัวได้เร็ว การใช้ PVP จะให้เวลาในการแตกตัวของยาเม็ดเร็วกว่าการใช้ HPC การปลดปล่อยตัวยา พบว่าการใช้ปริมาณสารยึดเกาะเพิ่มขึ้น ทำให้การละลายของตัวยาลดลงเนื่องจากขนาดเฉลี่ยของแกรนูลใหญ่ขึ้นและมีแรงยึดเกาะเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีการปลดปล่อยตัวยาช้าลงแต่จะไม่มีผลต่อการใช้ PVP ที่ความเข้มข้น 14% และ 16%
abstract:
The concentration of hydroxypropylcellulose (HPC) and povidone (PVP) has an effect on granules of Hydrochlorothiazide tablet. In the experiment, HPC and PVP were prepared as binders with the concentration of 8%, 10%, 12%, 14% and 16%. Lactose was used as a filler. For granules evaluation, sieve analysis was used. As for tablets evaluation, weight variation, hardness, thickness, friability, disintegration and dissolution were used.Upon using HPC and PVP as binders, the result showed that the granule of hydrochlorothiazide when used HPC as a binder were bigger than when used PVP as a binder. However, when use PVP at 14% and 16% level, the average size of the granules were larger than those from using HPC at the same level. Both binders have the distribution of granules mostly at 40/50 mesh. The use of HPC yielded harder granules than PVP at the same concentration. However, there was an exception, when PVP was used at 16% level, this yielded harder granules than using HPC. Therefore, binder concentration did not affect the friability. Disintegration depended on the type and concentration of binders being used. Less binder resulted in fast disintegration time. PVP resulted in faster disintegration time than HPC.Dissolution was found to decrease in line with the increase in binder concentration. Large size of granules was found to delay dissolution but increase binding force, there was an exception, when PVP at 14% and 16% level were used.
.