การเตรียมเพลเลทไดโคฟีแนคโซเดียมโดยวิธีsuspension layering ด้วยระบบลอยตัว

โดย: วชชุดา แสงสว่าง,อัทธาพร รัตนะ    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เพลเลทไดโคลฟีแนคโซเดียม, suspension layering, การกระจายขนาด, การละลาย, Diclofenac sodium pellet, Suspension layering, Size distribution, Dissolution
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นศึกษาปัจจัยในการเตรียมเพลเลทไดโคลฟีแนคโซเดียม โดยวิธีเคลือบเม็ดแกน (non-pareils seed) ด้วยสารแขวนตะกอนของตัวยา (suspension) ด้วยเครื่องเคลือบด้วยระบบลอยตัวชนิดพ่นล่าง (fluidized bed bottom spray coater) ปัจจัยที่ศึกษาคือ ขนาดของ เม็ดแกนที่ใช้ในการเตรียมเพลเลทไดโคลฟีแนคโซเดียม โดยกำหนดไว้ที่ขนาด 500-590 และ 710-840 ไมครอน และปริมาณความเข้มข้นของสารแขวนตะกอนสามระดับที่ร้อยละ 10, 15 และ 20 จากการศึกษาพบว่าเพลเลทที่ได้มีขนาดสม่ำเสมอและเพลเลทที่เตรียมจากเม็ดแกนขนาดใหญ่จะมีปริมาณตัวยาสำคัญมากกว่าเม็ดแกนขนาดเล็ก และเพลเลทที่เตรียมจาก สารแขวนตะกอนที่มีความเข้มข้นร้อยละ10 จะมีปริมาณตัวยาสำคัญอยู่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับอื่นๆ ในปริมาณตัวยาตามทฤษฎีที่เท่ากัน การปลดปล่อยตัวยาทั้งในกรดและบัฟเฟอร์พบว่า เพลเลทที่เตรียมโดยใช้เม็ดแกนขนาดเล็กมีการปลดปล่อยตัวยาดีกว่าเพลเลทที่เตรียมโดยใช้เม็ดแกนขนาดใหญ่ การปลดปล่อยตัวยาทุกปริมาณความเข้มข้นของสารแขวนตะกอนที่เตรียม ใกล้เคียงกันในกรด และไม่มีตำรับใดเลยเกินร้อยละ 10 ส่วนในบัฟเฟอร์พบว่า สารแขวนตะกอนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 มีการปลดปล่อยตัวยาน้อยกว่าที่ความเข้มข้นสูงขึ้น จากการทดลองนี้พบว่า สูตรที่เตรียมจากเม็ดแกนขนาดเล็กและมีปริมาณความเข้มข้นของสารแขวนตะกอนร้อยละ 20 จะให้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด
abstract:
This project dealt with a development of diclofenac sodium pellets by layering of drug suspension on non-pareils seeds in a fluidized bottom spray coater. The variable included in this study were sizes of non-pareils seeds, i.e., 500-590 and 710-840 micron, and suspension concentrations, i.e., 10, 15 and 20%, It was found that the pellets were of uniform size. The pellets prepared from the larger seeds contained higher drug contents than the smaller seeds. The pellets prepared by using 10% suspension contained less amount of the drug compared with the other for the same theoretical weight. The pellets prepared from smaller seeds exhibited faster drug release than the larger ones in both acid and alkali media. Regardless of suspension concentrations drug release in acidic medium were comparable and less than 10%. In alkali medium, the drug release increased with the suspension concentrations. The study indicated that the pellets prepared from smaller seeds and using 20% suspension possessed the most satisfactory product.
.