ความเหมาะสมในการจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาโรคท้องร่วงโดยเภสัชกรชุมชน

โดย: พีรวุฒิ อภิรัตน์,มรุพงษ์ พชร    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ยาปฏิชีวนะ,โรคท้องร่วง,เภสัชกรชุมชน,ความเหมาะสม, Antibiotics, Diarrhea, Community Pharmacists, Appropriateness
บทคัดย่อ:
โรคท้องร่วงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในร้านยา อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นๆการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรชุมชุนโครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ของเภสัชกรชุมชนต่อการจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาโรคท้องร่วง และปัจจัยที่ผลต่อความรู้ของเภสัชกรชุมชน โดยใช้แบบสอบถามเภสัชกรผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ผลการศึกษาพบว่ามีเภสัชกรตอบแบบสอบถาม จำนวน130 คน เป็นเพศชาย 47คน (ร้อยละ 36.2 ) และเพศหญิง 83 คน ( ร้อยละ 63.8 )มีอายุระหว่าง 23-70 ปี โรคท้องร่วงที่เภสัชกรพิจารณาความจำเป็นในการจ่ายยาปฏิชีวนะได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ common diarrhea in children,severe salmonellosis,amoebiasis และ common diarrhea in adult โรคท้องร่วงที่เภสัชกรพิจารณาความจำเป็นในการจ่ายยาได้ถูกต้องน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ drug-induce diarrhea สำหรับโรคที่มีการจ่ายยาเหมาะสมมากที่สุดได้แก่ shigellosis พบการใช้ยาอย่างเหมาะสมร้อยละ 52.8 และโรคที่มีการจ่ายยาเหมาะสมน้อยที่สุดได้แก่ drug-induced diarrhea ร้อยละ( 0.0 ) และ amoebiasis ร้อยละ ( 0.0 ) และจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายยาปฎิชีวนะอย่างเหมาะสมของเภสัชกรชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)ได้แก่จำนวนชั่วโมงที่ปฎิบัติงาน,การปฎิบัติในร้านยาคุณภาพและการพัฒนาความรู้โดยใช้วารสาร งานวิจัยนี้สุรปว่าเภสัชกรชุมชนจ่ายปฎิชีวนะสำหรับท้องร่วงบางชนิดได้อย่างเหมาะสมผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาความรู้ของเภสัชกรชุมชนเพื่อให้เกิดการใช้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมต่อไป
abstract:
Diarrhea is commonly found in pharmacy and caused by many factors, both infectious and non-infectious causes. Appropriated antibiotic dispensing is one of the most important duties of community pharmacists. This study.s purposes were to study community pharmacists. knowledge of antibiotics dispensing and to find the factors influencing their knowledge by using the questionnaires asking community pharmacists who were participating in the Community Pharmacy Association (Thailand) conference. The results showed that 130 pharmacists answered the questionnaires. There were 47 men (36.2%) and 83 women (63.8%) during the age of 23-70 years old. The types of diarrhea that more than 80 % of the pharmacists correctly considered the necessity to dispense antibiotics were common diarrhea in children, severe salmonellosis, amoebiasis and common diarrhea in adult. While, the type of diarrhea that less than 50 % of the pharmacists correctly considered the necessity to dispense the antibiotics was drug-induced diarrhea. The type of diarrhea that the pharmacists considered to dispense the most appropriated antibiotics was shigellosis (52.8%) and the least appropriated antibiotics were drug-induced diarrhea (0%) and amoebiasis (0%). In addition, the factors that were significantly affected the appropriateness of antibiotic dispensing were number of working hours, working in quality drug store and studying journals (p < 0.05). In conclusion, the community pharmacists could appropriately dispense antibiotics in some diarrheas. This research may be utilized for developing knowledge of community pharmacists for appropriateness of dispensing antibiotics.
.