การเตรียมยาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อยแบบพัลสะไทล์

โดย: นันท์ชญาน์ สุทธิบูรณ์, อรชร สุพรรณสาลีกุล    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ธีโอฟีลลีน, การปลดปล่อยแบบพัลสะไทล์, ยาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อย, Theophylline, Pulsatile release, Controlled release tablets
บทคัดย่อ:
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมยาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อยแบบพัลสะไทล์ ยาเม็ดพัลสะไทล์ประกอบด้วยยาเม็ดแกนเคลือบด้วยชั้นเคลือบที่พองตัวได้และชั้นเคลือบที่แตกตัวได้ ในการศึกษาได้เตรียมยาเม็ดแกนที่ประกอบด้วยตัวยาธีโอฟีลลีนโดยวิธีตอกตรง เคลือบยาเม็ดแกนด้วยสารเคลือบ 2 ชั้น สารเคลือบชั้นในซึ่งประกอบด้วย croscarmellose sodium (Ac-Di-Sol) และ polyvinylpyrrolidone K-90 ทำหน้าที่เป็นชั้นเคลือบที่พองตัวได้ และสารเคลือบชั้นนอกซึ่งประกอบด้วย ethyl cellulose ทำหน้าที่เป็นชั้นเคลือบที่แตกตัวได้ และทำการปรับปริมาณ ethyl cellulose และเติม magnesium stearate ในชั้นเคลือบชั้นนอกเพื่อศึกษาผลของปริมาณของชั้นเคลือบที่แตกตัวได้และ magnesium stearate ต่อการปลดปล่อยของยา โดยทดสอบการละลายของยาเม็ดในสารละลาย 0.1 N HCl ด้วยวิธี USP 32 paddle method และความเร็วของใบพัด 50 รอบต่อนาที ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลา lag time เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณของ ethyl cellulose ในชั้นที่แตกตัวได้ และลดลงเมื่อเติม magnesium stearate ในชั้นเคลือบที่แตกตัวได้ ในการศึกษานี้สามารถเตรียมยาเม็ดพัลสะไทล์ที่ปลดปล่อยตัวยาอย่างรวดเร็วหลัง lag time ที่กำหนด
abstract:
This project was aimed to prepare the pulsatile release tablets. A tablet system consisting of cores coated with two layers of swelling and rupturable coatings was prepared and evaluated as pulsatile drug delivery system. Core tablets containing theophylline were prepared by the direct compression method. Then the cores were coated with two layers. The inner layer consisting of croscarmellose sodium (Ac-Di-Sol) and polyvinylpyrrolidone K-90 acted as a swelling layer, and the outer layer consisting of ethylcellulose acted as a rupturable layer. The outer layer was varied by the amount of ethycellulose and addition of a magnesium stearate. The effect of level of rupturable coating and magnesium stearate in rupturable layer on drug release was investigated. Dissolution test was operated using the USP 32 paddle method at 50 rpm in 0.1N HCl. The results indicated that the lag time of pulsatile release tablets increased with increasing level of rupturable layer and decreased with addition of magnesium stearate in rupturable layer. In this study, the pulsatile release tablets with rapid release after predetermined lag time could be obtained.
.