ฤทธิ์ต้านการอักเสบของตำรับสมุนไพร

โดย: กมลชนก ศรีนวล,พินิต ชินสร้อย    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 35

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: การต้านการอักเสบ , เหงือกปลาหมอ, รางจืด, โลดทะนงแดง, anti-inflammatory activity, Trigonostemon reidioides (kurz) Craib , Acanthus ebracteatus L. , Thunbergia luarifolia L.
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาตำรับยาต้านการอักเสบจากสมุนไพรมีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์ฤทธิ์ต้านการอักเสบและพัฒนาสมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้ตามการใช้พื้นบ้าน มาใช้ในรูปแบบของตำรับยาเตรียมแผนปัจจุบันโดยใช้ทักษะกระบวนการทางเภสัชกรรม สมุนไพรที่เลือก 3 ชนิด คือ ใบเหงือกปลาหมอ ใบรางจืด และรากโลดทะนงแดง การสกัดใช้ตามแบบการใช้พื้นบ้าน แล้วนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ทำการเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่ใบหูด้วยสาร ethy-phenylpropiolate (EPP) โดยทาสารสกัดก่อน ethyl-phenylpropiolate (EPP) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้ววัดความหนาของใบหูเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลองพบว่ารางจืดและโลดทะนงสามารถต้านการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการเปรียบเทียบพบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการอักเสบของสารสกัดจากใบเหงือกปลาหมอ รากโลดทะนงแดง และใบรางจืดที่เวลา 2 ชั่วโมง หลังทาสาร ethyl-phenylpropiolate (EPP) เป็น 12.1% ,20.7% และ 32.3% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสารสกัดใบรางจืดมีประสิทธิภาพดีที่สุด จึงนำสารสกัดนั้นมาเตรียมเป็นตำรับครีมในขนาดความเข้มข้น 5% แล้วนำไปผ่านการทดสอบความคงตัวทางกายภาพ จากนั้นนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบเช่นเดียวกับสารสกัด พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และให้ผลใกล้เคียงกับยามาตรฐานคือ betamethasone cream
abstract:
The anti-inflammatory activity of three herbs ; the root extract of Trigonostemon reidioides (kurz) Craib and the leaf extract of Acanthus ebracteatus L. , Thunbergia luarifolia L. were investigated. Trigonostemon reidioides (kurz) Craib and Thunbergia luarifolia L showed significant suppression of the mice ear edema induced by topically applied ethyl-phenylpropiolate (EPP) (p<0.05). The inhibition percentage of the leaf extract of Acanthus ebracteatus L., the root extract of Trigonostemon reidioides (kurz) Craib and Thunbergia luarifolia L., at two hours after inflammation induction were 12.1% 20.7% and 32.3% , respectively.These results indicated that , Thunbergia luarifolia L. leaf extract showed highly inhibitory effect. Thus , this plant extract was selected to prepare 5% cream that passed physical stability test. This preparation (0.05 mg/ear) significantly reduced the ear edema (p<0.05) as much as the effect betamethasone cream (0.05 mg/ear).
.