การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนต่อบทบาทเภสัชกรในทีมดูแลสุขภาพเบื้องต้น

โดย: เนตรนภา ธรรมเนียมดี,พงศธร เพียบเพียร    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 37

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เภสัชกรชุมชน, บทบาทเภสัชกร, ทีมดูแลสุขภาพเบื้องต้น, Community pharmacists, Pharmacist’s role, Primary Care Team, PCT
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ เป็นการสำรวจถึงสถานภาพการให้บริการทางสุขภาพของร้านยาในปัจจุบัน ความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนต่อบทบาทของเภสัชกรในทีมดูแลสุขภาพเบื้องต้น และการบริการทางสุขภาพที่ร้านยาควรให้แก่ผู้มารับบริการ โดยทำการสัมภาษณ์ตรงกับเภสัชกรชุมชนที่ปฏิบัติ งานในร้านยาซึ่งสุ่มจากร้านยาในเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 ร้าน ร้อยละ 65.1 ของผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นเพศหญิง โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้าน ร้อยละ 37.2 ทำงานเป็นเภสัชกรโรงพยาบาลด้วย ร้อยละ 76.7 เป็นธุรกิจร้านยาแบบเจ้าของคนเดียว ค่าฐานนิยมของการมีเภสัชกรปฏิบัติงานประจำเท่ากับ 1.8 full time equivalent (FTE) โดย 1 FTE หมายถึงการมีเภสัชกรปฏิบัติงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กิจกรรมบริการสุขภาพที่มีการทำมากที่สุด 2 อันดับแรกคือ การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา (ร้อยละ 100) และ การจัดยาตามใบสั่งแพทย์ (ร้อยละ 81.4) ในขณะที่กิจกรรมสนับสนุนการบริการที่มีการทำมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ การประเมินการใช้ยา (ร้อยละ 81.4) และ การทำบันทึกการใช้ยา (ร้อยละ 62.8) สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับทีมดูแลสุขภาพเบื้องต้น พบว่าเภสัชกรร้อยละ 46.5 ทราบแนวคิดของทีมดูแลสุขภาพเบื้องต้น โดยร้อยละ 95.3 ของกลุ่มนี้เห็นด้วยที่เภสัชกรชุมชนควรเป็นหนึ่งในทีม ในฐานะของผู้ให้คำแนะนำการใช้ยา และให้ความเห็นว่าร้านยาประเภทเจ้าของคนเดียวน่าจะมีโอกาสพัฒนามากที่สุด ในด้านความพร้อมที่จะปรับเป็นหน่วยให้บริการสุขภาพเบื้องต้นจากสถานภาพปัจจุบัน ร้อยละ 30.2 คิดว่ามีความพร้อมที่จะกระทำได้ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92.3) เป็นร้านยาประเภทเจ้าของคนเดียว และ ร้อยละ 92.3 เป็นร้านยาที่มีเภสัชกรทำงานมากกว่า 1 FTE สำหรับแนวทางการพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าควรเกิดจากการประสานกันระหว่างร้านยา คลินิกแพทย์ และสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยมีภาครัฐเป็นผู้ประสาน เภสัชกรชุมชนควรได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยและการใช้ยา ในขณะเดียวกัน ควรมีการกำหนดมาตรฐานงานบริการของร้านยาเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการให้บริการที่มีคุณภาพต่อไป.
abstract:
This project was designed to survey health services currently provided by community pharmacies, the opinion of community pharmacists on their role in primary care team and their opinion on optimum health services be provided to consumer. By stratified randomized selection of drug stores in Bangkok, community pharmacists from 43 sites were interviewed face-to-face. About 65.1% of interviewees are female. Some (37.2%) also work as a hospital pharmacist. About 76.7% are operated by single owner. The mode of pharmacist workload, which based on the minimum working hours for community pharmacist of 40 hours per week, is 1.8 full time equivalents (FTE). The first two health services commonly provided are patient counseling (100%) and prescription filling (81.4%), whereas the first two supportive activities are drug utilization evaluation (81.4%) and keeping up patient profiles (62.8%). Concerning the idea of primary care team, 46.5% of pharmacists in this study have known the concept and 95.3% of them agreed that pharmacists should be included in the team as a medication counselor. The single owner business would be a good candidate for upgrading to be a primary care provider. Respondents up to 30.2% found themselves ready to reorganize. Among them, 92.3% are operated as a single owner business and 92.3% have more than 1 FTE pharmacist. To implement the program effectively, the co-operation of drug stores, medical clinics, nearby hospitals, and the governmental policy maker; the provision of knowledge and skill of primary disease management and drug utilization to community pharmacists; and the accreditation process to community pharmacy practice should be considered.
.