อิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวต่อขีดการละลายและอัตราการละลายของเทอเฟนาดีน

โดย: จิรวรรณ โอพรสวัสดิ์,นันทลักษณ์ พูลวิวัฒน์ชัยการ    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , อำพล ไมตรีเวช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
คลอโปรปาไมด์เป็นตัวยาที่มีค่าการละลายขึ้นกับค่าความเป็นกรดด่างของตัวทำละลาย จากการศึกษาหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเป็นกรดด่างของตัวทำละลายที่ pH 4-11 กับ ความสามารถในการละลายของคลอโปรปาไมด์ พบว่าคลอโปรปาไมด์จะละลายได้มากขึ้นเมื่อค่าความเป็นกรดด่างสูงขึ้น ได้ทดลองเตรียมยาเม็ดคลอโปรปาไมด์โดยผสมด่างชนิดต่าง ๆ เพื่อให้มีค่าความเป็นกรดด่างต่างกัน และได้เติม sodium lauryl sulfate(SLS) ในแต่ละตำรับเป็นการเปรียบเทียบ ผลการทดลองพบว่าตำรับที่ไม่ใส่ด่างและ SLS ให้การละลายเพียง 58% การใส่ SLS เพียงอย่างเดียวสามารถเพิ่มการละลายเป็น 86% การเติมด่างพบว่าจะเพิ่มการละลายได้ดีขึ้น ตำรับที่ให้การละลายสูงสุดคือ ตำรับที่ใช้ sodium bicarbonate 11.11% กับ SLS 0.88%
abstract:
Chlorpropamide is a drug that its solubility depend on pH of solvent. The relationship between pH of solvent and solubility of chlorpropamide was studied. The experiment showed that dissolution of chlorpramide increased when pH increased. Alkalizing agent and sodium lauryl sulfate were added in tablet for comparing. For this study, Dissolution of fomular that did not add with alkalizing agent and sodium lauryl sulfate was only 58%. Dissolution of formular that added only sodium lauryl sulfate was 86% for formular that added with sodium bicarbonate 11.11% and sodium lauryl sulfate 0.88% gave the highest value of dissolution.
.