ความไวของราโรคผิวหนังที่แยกได้จากผู้ป่วยต่อสารสกัดสมุนไพร

โดย: อุดมพร นางสุบิน,อุมาพร จันดี    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ , สมพล ประคองพันธ์    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: เทียนกิ่ง ส้มป่อย ว่านชักมดลูก ราโรคผิวหนัง, Lawsonia inermis L., Curcuma xanthorrheza Foxb., Acacia concinna (wild.) DC., dermatomycotic agents
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรที่มีบันทึกแต่โบราณมาทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในครั้งนี้ได้ศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคผิวหนังที่แยกจากผู้ป่วย 28 ราย ซึ่งเก็บตัวอย่างเชื้อ บันทึกลักษณะโรคและยาที่แพทย์สั่งจ่าย จากแผนกผู้ป่วยนอก ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สมุนไพรที่ทำการศึกษา คือ ใบเทียนกิ่ง (Lawsonia inermis L), เหง้าว่านชักมดลูก Curcuma xanthorrhiza Roxb.), และฝักส้มป่อย (Acacia concinna ( Willd.) DC.) การสกัดใช้การหมักด้วยน้ำและเอธานอล 1 วันและ 7 วัน เมื่อครบกำหนดเวลา นำสารที่หมักมากรองของเหลวที่ได้จากการหมักด้วยน้ำ นำไป lyophillization ส่วนของเหลวที่ได้จากการหมักด้วยเอธานอล นำมาระเหยแห้งโดยใช้ Rotary evaporator นำ lyophillized aqueous extract และ ethanolic extract ของสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งรา โดยใช้ dermatophytes (Trichophyton rubrum และ Trichophyton mentagrophyte) และ Candida albicans 20 และ 25 isolates ตามลำดับ โดยวิธี agar disc diffusion เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน ketoconazole ฤทธิ์ของสารสกัดแสดงโดยค่าเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งการศึกษาครั้งนี้พบว่า dermatophytes ถูกยับยั้งได้ดีที่สุดจากสารสกัดเอธานอลของเทียนกิ่ง ว่านชักมดลูก และส้มป่อยตามลำดับ และสารสกัดทั้ง 3 ชนิดออกฤทธิ์ต่างกันต่อ dermatophytes อย่างมีนัยสำคัญเมื่อสกัดโดยตัวทำละลายที่ต่างกัน นอกจากนี้พบว่า สารสกัดด้วยน้ำและ เอธานอล ของเทียนกิ่งและส้มป่อยแสดงฤทธิ์ยับยั้งรา Candida albicans
abstract:
Medicinal plants from old texts are now under scientific investigation to support the consequence of traditional knowledge. This study was carried out on plants with activity against mycodermal infections. Those causative agents were isolated from 28 out patients attending Department of Dermatology, Siriraj Hospital, Mahidol University. Clinical appearance, fungal isolates and drugs prescribed were recorded. The plants, Lawsonia inermis L.(leaf), Curcuma xanthorrhiza Foxb.(rhizome), and Acacia concinna (Willd.) DC.(fruit), were extracted with ethanol and sterile distilled water for 1 and 7 days. After ground specimens were macerated in solvent by indicated times, filtrate of ethanol was evaporated and aqueous filtrate was lyophilized, All extracts were tested for their antifungal activities against dermatophytes and Candida albicans, 20 and 25 isolates respectively, by using agar disc diffusion method compared with reference drug, ketoconazole, The inhibitory zone diameters were considered as antifungal activities of extracts. This study found that dermatophytes were best orderly inhibited by ethanolic extract of L. inermis, C. xanthorrhiza and A. concinna. The ethanolic and aqueous extracts of each plant showed statistically different efficiency upon dermatophytes. Moreover, ethanolic and aqueous extract of L.inermis and A.concinna exhibited activity againt C.albicans .
.