การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ณ ห้องผู้ป่วยอายุกรรม โรงพยาบาลศิริราช

โดย: พลคณา ชตาเริก,อุษณีย์ ทองใบ,ทรงลักษณ์ ตันตาปกุล    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข , นฤมล ธนะ , โกวิทย์ จงเจริญประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ปฏิกิริยาระหว่างยา, ผู้ป่วยอายุรกรรม, โรงพยาบาล, หอผู้ป่วยอายุรกรรม , drug interaction, medical patient, hospital, medical ward
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการสั่งจ่ายยาที่มีแนวโน้มจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา โดยติดตามเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยในของผู้ป่วยทุกคน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม ตึกอัษฎางค์ ชั้น 6 โรงพยาบาลศิริราช ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2545 แล้วทำการตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างยาโดยอาศัยข้อมูลที่อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการ จากการติดตามผู้ป่วย 208 คน ร้อยละ 57.69 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 38.94 มีอายุมากกว่า 65 ปี พบการสั่งจ่ายคู่ยาที่มีแนวโน้มจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาในผู้ป่วย 103 คน (ร้อยละ 49.52) เป็นจำนวน 257 ครั้ง จากคู่ปฏิกิริยา 119 คู่ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 67.96 พบมีการสั่งจ่ายคู่ยาที่มีปัญหา 1–2 ครั้งตลอดช่วงที่ทำการติดตาม โดยมีค่าฐานนิยมที่ 1 ครั้ง ร้อยละ 18.49 ของคู่ยาที่มีปัญหาให้ผลเป็นปฏิกิริยาเชิงบวก จากคู่ยาที่พบทั้งหมดวิเคราะห์แยกเป็นคู่ปฏิกิริยาในระดับรุนแรง ปานกลาง และ ระดับอ่อน คิดเป็นร้อยละ 12.61, 55.46 และ 31.93 ตามลำดับ คู่ยาในระดับรุนแรงและมีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ 1 ที่พบมาก คือ digoxin-furosemide, digoxin-hydrochlorothiazide และ isoniazid-rifampicin คู่ยาในระดับรุนแรงและมีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ 2 ที่พบมาก คือ amikacin-ceftazidime เมื่อพิจารณากลไกการเกิดปฏิกิริยาพบว่าเป็นกลไกทางเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ร่วมกับเภสัชพลศาสตร์ และ ไม่ทราบกลไก คิดเป็นร้อยละ 52.10, 23.53, 1.68 และ 22.69 ตามลำดับ ในกลุ่มที่เกิดจากกลไกทางเภสัชจลนศาสตร์ร้อยละ 32.81 เกิดในกระบวนการเปลี่ยนสภาพยา และ ร้อยละ 29.68 เกิดในกระบวนการดูดซึมยา ส่วนกลุ่มที่เกิดจากกลไกทางเภสัชพลศาสตร์เป็นปฏิกิริยาการเสริมฤทธิ์และต้านฤทธิ์กันคิดเป็นร้อยละ 53.33 และ 36.67 ตามลำดับ การศึกษานี้ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสั่งจ่ายคู่ยาที่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาในผู้ป่วยได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับแพทย์และเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยในภายหลัง.
abstract:
The prospective survey of incidence of potential drug interaction in medical ward at Siriraj Hospital was performed. The medical records of patients admitted during June and August 2002 at the 6th floor of Adsadang building, Siriraj Hospital were reviewed for potential drug interactions. The interactions were then analyzed based on medical literatures. Of 208 patients recruited, 57.69 % were female and 38.94 % aged over 65 years old. There were 257 episodes of 119 potential drug interactions found in 103 patients (49.52 %). The incidence of 1-2 episodes was found in 67.96 % of experienced patients and the mode of incidence during monitoring period was 1 episode. Positive effect was found 18.49 %. The severity of drug interactions leveled as severe, moderate and mild were 12.61, 55.46 and 31.93, respectively. The severe with level 1 clinical significant interactions frequently found were digoxin-furosemide, digoxin-hydrochlorothiazide and isoniazid-rifampicin, while the severe with level 2 clinical significant interactions frequently found was amikacin-ceftazidime. The interactions occurred by 52.10 % pharmacokinetical, 23.53 % pharmacodynamical, 1.68 % both pharmacokinetical and pharmacodynamical and 22.69 % unknown mechanisms. Metabolism (32.81 %) and absorption (29.68 %) were main pharmacokinetical interactions whereas addition (53.33 %) and antagonism (36.67 %) were pharmacodynamical interactions. The result of this study indicates potential drug interactions frequently found in medical ward which this will be warning for physicians and pharmacists in providing care to patients in the future.
.