การพัฒนายาเม็ดไกลคาไซด์ชนิดควบคุมการปลดปล่อย

โดย: นส.วรณัน ตั้งเจตนาพร, นส.สุกานดา กิตติพงศ์วรการ    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ยาเม็ดไกลคาไซด์ชนิดควบคุมการปลดปล่อย, กฎรากที่ 3, การประเมินรูปแบบการปลดปล่อยยาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อย, modified-release gliclazide tablets, Cube Root Law, the evaluation of drug release characteristics of developed modified- release tablets
บทคัดย่อ:
ไกลคาไซด์เป็นยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย ใช้สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ออกฤทธิ์กระตุ้นบีต้าเซลล์ (?-cell) ของตับอ่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมภายในเซลล์และกระตุ้นการสร้างและหลั่งอินซูลินเกิดขึ้น ในการทดลองครั้งนี้ได้มีการออกแบบและพัฒนาตำรับยาเม็ดไกลคาไซด์ชนิดควบคุมการปลดปล่อย (modified-released gliclazide tablets) โดยใช้สารยึดเกาะ 2 ชนิด คือ polyvinylpyrollidone (PVP-K30) และ hydroxypropylmethylcellulose (HPMC-F4M) และปรับเปลี่ยนสัดส่วนโดยน้ำหนักของสารเพิ่มปริมาณระหว่าง lactose:dibasic calcium phosphate (DCP) ดังต่อไปนี้คือ100:0, 80:20, 50:50 และ 30:70 จากผลการทดลองพบว่า เมื่อสัดส่วนของ DCP เพิ่มมากขึ้นตำรับที่ใช้ PVP เป็นสารช่วยยึดเกาะจะมีอัตราการปลดปล่อยตัวยาสำคัญลดลง ซึ่งตรงข้ามกับตำรับที่ใช้ HPMC เป็นสารช่วยยึดเกาะจะมีอัตราการปลดปล่อยตัวยาสำคัญเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นพบว่ายาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อยมีกลไกการปลดปล่อยเป็นไปตามกฎรากที่3 (Cube Root Law) ยกเว้นสูตรตำรับที่มีสัดส่วนของ DCP เป็น 50:50 และ 30:70 และมี HPMC เป็นสารช่วยยึดเกาะซึ่งมีกลไกการปลดปล่อยโดยการแตกตัว ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 ตำรับมี HPMC เป็นสารช่วยยึดเกาะซึ่งมีคุณสมบัติในการพองตัวได้ในน้ำและคุณสมบัติของ DCP ที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อ HPMC พองตัวภายในยาเม็ดที่มีปริมาณ DCP สูง จะทำให้เกิดความเครียด (internal stress) ภายในเม็ดยาเพิ่มมากขึ้นทำให้ยาเม็ดเกิดการแตกตัว จากการประเมินรูปแบบการปลดปล่อยยาเม็ดชนิดควบคุมการปลดปล่อยที่ได้พัฒนาโดยการทดสอบ difference factor (fd) กับ similarity factor (fs) พบว่าสูตรที่มีตัวยาไกลคาไซด์ 50%w/w, DCP 7.84% w/w และ lactose 31.5%w/w ทั้งตำรับที่ใช้ PVP และ HPMC เป็นสารช่วยยึดเกาะ จะมีรูปแบบการปลดปล่อยในหลอดทดลองสมมูลย์กับผลิตภัณฑ์ทางการค้า
abstract:
Gliclazide is the blood glucose reducing drug in the group of sulfonylurea for type 2 diabetic patients, pharmacological action of which is stimulating the ?-cell of pancrease, leading to the calcium alteration within the cell and stimulating production and secretion of insulin. In this experiment modified-release gliclazide tablets were designed and developed based on their in vitro drug release test by using 2 types of binder i.e. polyvinylpyrollidone (PVP-K30) and hydroxypropylmethylcellulose (HPMC-F4M) at various weight ratio of the diluents; lactose:dibasic calcium phosphate(DCP) ,i.e., 100:0, 80:20, 50:50, and 30:70. It was found from the experiment that when the ratio of DCP was increased in the formulations with PVP as the binder, the drug release rate became decreased, which was in contrast to those with HPMC as the binder whose drug release ratio became increased. In addition, the mechanism and kinetics of drug release from such modified-release gliclazide tablets appeared to follow the Cube Root Law, except those with lactose : DCP ratios of 50:50 and 30:70 with HPMC as the binder, whose release rate was property controlled by disintegration. Such behavior could be attributed to the high swelling property of HPMC and insoluble property of DCP in water. The swelling of HPMC in the tablets with high DCP content would introduce high degree of internal stress within the tablet and resulted in disintegrating of tablet. The evaluation of drug release characteristics of developed modified-release tablets by testing the difference factor (fd) and similarity factor (fs) revealed that the in vitro equivalent formulations with the commercial product would be those containing gliclazide 50%w/w, DCP 7.84%w/w and lactose 31.5%w/w as diluents, for both with either PVP or HPMC as the binder.
.