การพัฒนาตารับน้ายาฆ่าเชื้อรูปแบบไมโครอิมัลชันของน้ามันอบเชยจีน

โดย: นางสาวฐานิตา แสงเขียว,นางสาวธมลวรรณ ขัดจวง    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฐวุฒิ เจริญไทย , สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: น้ามันอบเชยจีน, ไมโครอิมัลชัน, ระบบนาส่งยาแบบเกิดไมโครอิมัลชันเอง, Cassia oil, Microemulsion, Self-microemulsifying Drug Delivery System
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตารับระบบนาส่งยาแบบเกิดไมโครอิมัลชันเองของน้ามันอบเชยจีนซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ในการพัฒนาตารับนี้ได้ทาการสร้างแผนภูมิวัฏภาคแบบ Pseudo ternary เพื่อคัดเลือกตารับสารละลายน้ามันอบเชยจีน ที่ เจือจางด้วยน้าแล้วสามารถเกิดเป็นไมโครอิมัลชันที่มีความคงตัว โดยในตารับมีน้ามันอบเชยจีนทาหน้าที่เป็นวัฏภาคน้ามัน Kolliphor® EL หรือ Tween® 20 หรือ Tween® 80 ทาหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว Transcutol® HP เป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม ซึ่งจะถูกผสมในอัตราส่วนโดยปริมาตรที่แตกต่างกัน (1:0, 1:1, 2:1, 3:1, 4:1) และน้าเป็นวัฏภาคน้า จากผลการทดลองพบว่า ตารับระบบนาส่งยาแบบเกิดไมโครอิมัลชันเองน้ามันอบเชยจีนที่มีสารลดแรงตึงผิว Kolliphor® ELสามารถบรรจุน้ามันอบเชยจีนในตารับได้มากกว่าตารับที่มี Tween® 20 หรือ Tween® 80 โดยที่ตารับระบบนาส่งยาแบบเกิดไมโครอิมัลชันเองสามารถเจือจางด้วยน้าจนถึง 80% โดยที่ตารับที่ได้ไม่เกิดการแยกชั้นและมีความคงตัว และเมื่อเติมน้าแล้วสามารถเกิดเป็นไมโครอิมัลชันที่มีความคงตัว ตารับน้ายาฆ่าเชื้อรูปแบบเกิดไมโครอิมัลชันเองของน้ามันอบเชยจีนที่เลือกประกอบด้วย น้ามันอบเชยจีน (15% v/v) และ Kolliphor® EL:Transcutol® HP 2:1(85% v/v),น้ามันอบเชยจีน (15% v/v) และ Kolliphor® EL:Transcutol® HP 3:1(85% v/v) และน้ามันอบเชยจีน (15% v/v) และ Kolliphor® EL:Transcutol® HP 4:1(85% v/v) ซึ่งทั้ง 3 ตารับผ่านการทดสอบความคงตัวด้วยวิธี heating-cooling cycle จานวน 3 รอบการทดสอบ นอกจากนี้การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพด้านลักษณะภายนอก ขนาดอนุภาค และ Zeta potential ของตารับดังกล่าว พบว่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งจากผลการศึกษาที่ได้ตารับไมโครอิมัลชันของน้ามันอบเชยจีนเป็นตารับที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาและนาไปทดสอบคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ในหลอดทดลอง และในร่างกายต่อไป
abstract:
The objective of this project was to develop a self-microemulsifying drug delivery system of cassia oil which is an antiseptic agent. In the formulation development, pseudo-ternary phase diagrams were constructed in order to identify the region of stable microemulsion. In the formulation consisted of cassia oil as an oil phase, Kolliphor® EL or Tween® 20 or Tween® 80 as surfactant, Transcutol® HP as a cosurfactant and water as an aqueous phase. The formulations were prepared with prior mixture of surfactant and co-surfactant in different volume ratios (1:0, 1:1, 2:1, 3:1, 4:1). It was found that the formulation containing Kolliphor® EL with Transcutol® HP had loading capacity of cassia oil more than the system of Tween® 20 or Tween® 80 with Transcutol® HP. The criteria for selection the formulation were the maximum of cassia oil loading which was dilutable with water until 80% v/v and after dilution with water achieved the stable microemulsion. The selected formulation were 15% cassia oil/ Kolliphor® EL: Transcutol® HP 2:1, 15% cassia oil/Kolliphor® EL: Transcutol ® HP 3:1 and 15% cassia oil/Kolliphor® EL: Transcutol® HP 4:1. The three formulations of self-microemulsifying drug delivery system were undergone 3 cycle of heating-cooling. Additionally, The physical characteristics of the diluted formulations in terms of appearance, particle size and zeta potential were satisfied stable microemulsion and these properties were not different among the three formulations. In conclusion, the microemulsion of cassia oil was a promising formulation which could be subjected to evaluate in vitro/in vivo antiseptic properties.
.