ความไวและฤทธิ์ในการต้านเชื้อของยาต้านจุลชีพต่อเชื้อ Burkholderia pseudomallei

โดย: ธัญรัตน์ อุดมอภิรัตน์,อัจนา แซ่เล้า    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 39

อาจารย์ที่ปรึกษา: ม.ล.สุมาลย์ สาระยา    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: โรคเมลิออยโดสิส, เบอโคเดอเลีย ซิวโดแม็ลลิไอ, ยาต้านจุลชีพ, Mellioidosis, Burkholderia pseudomallei, Antimicrobials
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความไวและฤทธิ์ต้านเชื้อของยาต้านจุลชีพต่อเชื้อ Burkholderia pseudomallei อันเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อ Mellioidosis ในกระแสโลหิต ซึ่งพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย การศึกษาความไวของยาต้านจุลชีพ ทำโดยใช้เชื้อที่แยกจากผู้ป่วย 14 สายพันธุ์ และยาต้านจุลชีพ 5 ชนิด ได้แก่ Ceftazidime, Doxycycline, Trimethoprim, Sulfamethoxazole และ Cotrimoxazole (Trimethoprim:Sulfamethoxazole 1 : 5) ด้วยเทคนิค microdilution method ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อของยาต้านจุลชีพทำโดยใช้เชื้อที่แยกจากผู้ป่วย 3 สายพันธุ์และยาต้านจุลชีพ 3 ชนิดได้แก่ Ceftazidime, Doxycycline และ Cotrimoxazole ด้วยเทคนิค time-killing study ผลการศึกษาพบว่าค่า MIC50 ของยา Ceftazime, Doxycycline, Trimethoprim ,Sulfamethoxazole และ Cotrimoxazole ต่อเชื้อ Burkholderia pseudomallei มีค่าเป็น 1, 2, 8, 32 และ 16 มคก/มล ตามลำดับ ส่วนค่า MIC90 ของยา Ceftazidime, Doxycycline, Trimethoprim, Sulfamethoxazole และ Cotrimoxazole ต่อเชื้อ Burkholderia pseudomallei มีค่าเป็น 2, 4 , 32, 128 และ 16 มคก/มล ตามลำดับ ผลการศึกษาโดย time - killing study พบว่า Ceftazidime และ Doxycycline มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้สูงสุดเท่ากับ 3.0 log10 และ 2.1 log10 ตามลำดับ ส่วน Cotrimoxazole ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ จากผลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าเชื้อดังกล่าวยังไวต่อยาต้านจุลชีพในหลอดทดลอง อย่างไรก็ดีการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน จึงควรมีการศึกษาถึงผลการรักษาทางคลินิคต่อไป
abstract:
The in vitro antimicrobial susceptibilities of Burkholderia pseudomallei which causes the septicemia Mellioidosis in human commonly found in the North-East of Thailand, were studied Fourteen isolated strains of Burkholderia pseudomallei and 5 antimicrobial agents i.e. Ceftazidime, Doxycycline, Trimethoprim, Sulfamethoxazole and Cotrimoxazole ( Trimethoprim : Sulfamethoxazole 1 : 5 ) were used in the susceptibility test using the microdilution method.The antimicrobials actvity against this pathogen was performed using 3 isolated strains and 3 antimicrobials which were Ceftazidime, Doxycycline, and Cotrimoxazole by the time-killing study. It is found that the MIC50 of Ceftazidime, Doxycycline, Trimethoprim, Sulfamethoxazole and Cotrimoxazole to Burkholderia pseudomallei were 1, 2, 8, 32 and 16 mcg/ml, respectively and the MIC90 of Ceftazidime, Doxycycline, Trimethoprim, Sulfamethoxazole and Cotrimoxazole to Burkholderia pseudomallei were 2, 4, 32, 128 and 16 mcg/ml, respectively.The result of the time-killing study was found that Ceftazidime and Doxycycline can inhibit the growth of Burkholderia pseudomallei It can be concluded that Burkholderia pseudomallei are still in vitro susceptibilities to these antimicrobials and however, the combination of the antimicrobial agent should be used in the hospital treatment and the clinical investigations must be for further study.
.