ฤทธิ์ต้านอักเสบของสารสกัดจากดองดึง

โดย: นางสาววริศรา ขจรวนิชโชติ, นางสาววสมน บุนนาค    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 39

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ดองดึง, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, โคลชิซีน, Gloriosa superba L., anti-inflammatory activity, colchicine
บทคัดย่อ:
ดองดึงเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มายาวนาน จากภูมิปัญญาพื้นบ้านนิยมนาไปทอดในน้ามันแล้ว นามาทาเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโคลชิซีน (colchicine) เป็นสาร ที่ออกฤทธิ์ในเหง้าดองดึง โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ฤทธิ์ต้านอักเสบของสารสกัดจากเหง้าดองดึง โดยการสกัดด้วยตัวทาละลายที่มีขั้วต่างกัน คือ เฮกเซน และเอทานอล 80% และทา Thin Layer Chromatograpy (TLC) ของสารสกัดทั้งสองชนิดเพื่อหาสารสาคัญ จากนั้นนาไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของใบหูหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนาให้เกิดการบวมด้วย เอทิลฟีนิลโพรพิโอเลท (EPP) ผลการวิจัยพบว่า การทาสารสกัดทั้งสองชนิด (1, 2 และ 4 มิลลิกรัม/หู) สามารถลดการบวมของใบหูหนูแรท โดยมีความแรงแปรตามขนาดที่ใช้ เริ่มแสดงฤทธิ์ที่ 1 ชั่วโมงหลังทาสารสกัด และมีฤทธิ์อยู่ตลอดช่วง 4 ชั่วโมงของการทดลอง ซึ่งสารสกัดขนาดสูงสุด (4 มิลลิกรัม/หู) ให้ผลต้านการอักเสบดีที่สุด สารสกัดด้วยเฮกเซนขนาด 4 มิลลิกรัม/หู แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบได้ร้อยละ 58.45 ± 8.98, 71.68 ± 9.55, 75.22 ± 8.89 และ 83.57 ± 8.34 ในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 หลังทาสารสกัดตามลาดับ ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอล 80% ขนาด 4 มิลลิกรัม/หู แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบได้ร้อยละ 62.11 ± 7.44, 74.78 ± 9.89, 80.87 ± 10.60 และ 82.57 ± 10.25 ในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 หลังทาสารสกัดตามลาดับ จากผลการวิจัยสรุปว่าสารสกัดจากเหง้าดองดึงมีฤทธิ์ต้านอักเสบได้ ผลการศึกษาทาง พฤกษเคมีพบว่า สารสกัดจากเหง้าดองดึงด้วยเฮกเซน พบสารเบต้าซิโตสเตอรอล ส่วนสารสกัดจากเหง้าดองดึงด้วยเอทานอล 80% พบทั้งสารเบต้าซิโตสเตอรอล และสารโคลชิซีน จึงบันทึก TLC Chromatogram ของสารสกัดทั้งสองชนิดเพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการวิจัยต่อไป
abstract:
Gloriosa superba L. (G. superba) is use for a long period as Thai folk medicine. People usually fried it and topically applied oil to the skin for treatment of inflammatory and pain. It is well known that colchicine is an active substance in G. superba. The objectives of this study is to study on the anti-inflammatory activities of the hexane extract as well as 80% ethanolic extract of G. superba in rat using ethyl phenylpropiolate (EPP)-induced ear edema. In addition, TLC finger print of the both extracts also are performed. The results showed that topical application of both extracts (1, 2 and 4 mg/ear) suppressed rat’s ear edema in dose dependent manner starting at 1 h after topical application and maintained throughout a period of study for 4 hours. The maximum dose of 4 mg/ear of both extracts showed the highest anti-inflammatory effect. The percentage of inhibition of hexane extract at a dose of 4 mg/ear was 58.45 ± 8.98, 71.68 ± 9.55, 75.22 ± 8.89 and 83.57 ± 8.34 whereas that of the 80% ethanolic extract at a dose of 4 mg/ear was 62.11 ± 7.44, 74.78 ± 9.89, 80.87 ± 10.60 and 82.57 ± 10.25 at 1, 2, 3 and 4 hour after extract application, respectively. In conclusion, the hexane extract and 80% ethanolic extract of G. superba demonstrated an anti-inflammatory activity when the extracts were applied topically. For phytochemical study, the hexane extract contains beta-sitosterol substance and the 80% ethanolic extract contains colchicine and beta-sitosterol.
.