การพัฒนาตำรับยาเม็ดเสริมเส้นใยอาหารจากเปลือกส้มโอ

โดย: กฤติยา ไชยนอก,กุลธิดา เหลืองอ่อน    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 4

อาจารย์ที่ปรึกษา: เบญจา อิทธิมงคล , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , วิมล ศรีศุข    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: เส้นใยอาหาร, เพคติน, ยาเม็ด, เปลือกส้มโอ, dietary fiber, pectin, compressed tablet, pomelo rind
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้ เป็นการพัฒนาตำรับยาเม็ดเสริมเส้นใยอาหาร (เพคติน)โดยใช้เพคตินที่สกัดได้จากเปลือกส้มโอ เทียบกับเพคตินที่มีขายในท้องตลาด การสกัดเพคตินจากเปลือกด้านในของส้มโอใช้กรดเกลือที่ร้อนและตกตะกอนในรูปของอะลูมิเนียมเพคติเนต จากนั้นทำให้อยู่ในรูปเพคตินด้วยกรดและแอลกอฮอล์ และทำให้แห้ง ได้ผลผลิตร้อยละ 3.41 โดย น้ำหนัก มีเส้นใยอาหารทั้งหมด เส้นใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำได้ และกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำร้อยละ 19.53, 16.04 และ 3.49 โดยน้ำหนักตามลำดับ ในการทดลองนี้ใช้วิธีอัดเม็ดโดยวิธีตอกตรง ในยาแต่ละเม็ดประกอบด้วยเพคติน 300 มิลลิกรัมเป็นตัวยาสำคัญ magnesium stearate ร้อยละ 0.4 โดยน้ำหนักของตำรับ เป็นสารช่วยลื่น Emcompress? และ Avicel? PH102 เป็นสารเพิ่มปริมาณ โดยปรับปริมาณของ Avicel? PH102 เป็นร้อยละ 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนักของตำรับการศึกษาขั้นต้นเพื่อดูความสามารถในการตอกเป็นเม็ด พบว่าเพคตินจากทั้งสองแหล่งสามารถตอกเป็นเม็ดได้ แต่ทุกตำรับซึ่งใช้เพคตินซึ่งสกัดได้มีความกร่อนเกิน 1% ส่วนตำรับที่ใช้เพคตินซึ่งขายในท้องตลาดที่มี Avicel? PH102 ร้อยละ 30 มีความกร่อนอยู่ในมาตรฐานที่ USP 24 กำหนด ในการศึกษาต่อมา ใช้เพคตินที่มีขายในท้องตลาดมาศึกษา โดยใช้ตำรับเดิม แต่แรงตอกต่างๆกัน เมื่อนำเม็ดยาที่ได้มาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่าเม็ดยาทุกตำรับผ่านค่าความแปรปรวนของน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน USP XX ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ ยกเว้นค่าความกร่อนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 24 ดังนั้นจากผลการศึกษานี้พบว่า การพัฒนาตำรับยาเม็ดเสริมเส้นใยอาหารจากเปลือกส้มโอโดยวิธีการตอกตรงมีแนวโน้มที่จะทำได้จริงในระดับอุตสาหกรรม แต่ต้องมีการควบคุมวัตถุดิบ คือเปลือกส้มโอ ตลอดจนขั้นตอนการสกัดเพคติน เพื่อให้ได้วัตถุดิบในการตอกเม็ดยาที่มีคุณภาพที่ดี
abstract:
The objective of this project was to extract the dietary fiber (pectin) from pomelo rind and develop into fiber-supplementary tablets, compared to commercial pectin. Pectin was extracted, precipitated in the form of aluminium pectinate, washed with acid and alcohol and dried. The yield was 3.41% by weight. The pectin contained 19.53, 16.04 and 3.49% w/w of total, soluble, and insoluble dietary fiber, respectively. Pectin tablets were prepared by direct compression method. Each tablet contained 300 mg pectin as an active ingredient, 0.4%w/w magnesium stearate as a lubricant, Emcompress? and Avicel ? PH102 as fillers. The amount of Avicel? PH102 was varied to 10%, 20% and 30%. In preliminary study, both extracted pectin and commercial pectin could be compressed into tablets. The friability of all formulations of extracted pectin tablets were more than 1% whereas the formulation of commercial pectin tablets containing 30% Avicel? PH102 passed the friability test as recommended in USP 24. The subsequent experiments using only commercial pectin as an active ingredient, at various compression forces, were carried out. It was found that the weight variation and other physical properties (except the friability) of all formulations were up to standard of USP XX and USP 24, respectively. From the study, it was shown that fiber supplement tablets prepared by direct compression method could be developed in a commercial scale. However, the raw material (pomelo rind) and the extraction process should be controlled in order to obtain high quality pectin.
.