ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มปริมาณชนิดตอกโดยตรงของ Ceolus® KG802 กับ Avial® PH102

โดย: นส.ศิริเพ็ญ ลีลาเชาว์, นส.ศิริสรา สันธนะพานิช    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ตอกโดยตรง, microcrystalline cellulose, ความสามารถในการยึดเกาะ, ความกร่อน, เวลาที่ใช้ในการแตกตัว, เปอร์เซ็นต์การละลาย, Direct compression, Microcrystalline cellulose, Compactibility, Friability, Disintegration time, Dissolution
บทคัดย่อ:
โครงการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มปริมาณชนิดตอกโดยตรงของ microcrystalline cellulose (MCC) 2 ชนิดคือ Ceolus® KG802 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ และ Avicel® PH102 ที่มีการใช้มานาน โดยใช้ Tablettose เป็นสารเพิ่มปริมาณร่วม อัตราส่วนระหว่าง MCC : Tablettose เป็น100:0, 75:25, 50:50 และ 25:75 และใช้ไฮโดรคลอโรไธอะไซด์เป็นตัวยาสำคัญ ผลการประเมินคุณสมบัติยาเม็ดพบว่าเมื่อเพิ่มแรงตอกหรือเพิ่มปริมาณ MCC ค่า tablet tensile strength (TS) จะเพิ่มขึ้น โดย Ceolus®K G802 ให้เม็ดยาที่มีค่า TS มากกว่า Avicel® PH102 ที่ทุกแรงตอก เมื่อทำการเปรียบเทียบความกร่อน เวลาที่ใช้ในการแตกตัว และเปอร์เซ็นต์การละลายของยาเม็ดซึ่งมี TS เท่ากัน พบว่า ความกร่อนของยาเม็ดจะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณ MCC โดย Ceolus® KG802 มีความกร่อนน้อยกว่า Avicel® PH102 ที่ร้อยละ 75 ทั้ง Ceolus® KG802 และ Avicel® PH102 ให้ค่าความกร่อนเท่ากัน ยาเม็ดที่ใช้ Ceolus® KG802 จะใช้เวลาในการแตกตัวที่นานกว่า Avicel® PH102 ในทุกอัตราส่วน ปริมาณ MCC ร้อยละ 25 ทั้ง Ceolus® KG802 และ Avicel® PH102 ให้การปลดปล่อยตัวยาใกล้เคียงกัน ส่วน Ceolus® KG802 ในปริมาณตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปให้การละลายที่ต่ำกว่า Avicel® PH102 อาจสรุปได้ว่า Ceolus®KG802 เป็นสารเพิ่มปริมาณที่มีความสามารถในการยึดเกาะที่ดีกว่า Avicel® PH102 แต่อาจมีปัญหาในด้านการละลาย
abstract:
It was the objective of this study to compare direct compression properties of two microcrystalline cellulose (MCC), i.e.,Ceolus?KG802, a newly developed MCC and Avicel?PH102, a widely used MCC. Each MCC was used in combination with Tablettose at the ratios of 100:0, 75:25, 50:50, and 25:75. Hydrochlorothiazide was used as a model drug. The increase in compression force or amount of MCC resulted in the increased tablet tensile strength. Ceolus?KG802 was found to be more compactible than Avicel?PH102. At a given tablet tensile strength, the friability decreased with the increase in MCC. Ceolus?KG802 was shown to be less friable than Avicel?PH102, but at the level of 75 percent, both Ceolus?KG802 and Avicel?PH102 exhibited equal friability. Regardless of MCC concentration, the tablets containing Ceolus?KG802 disintegrated slower than did Avicel?PH102. At 25 percent, both MCCs showed similar dissolution profiles. However, at the concentration of 50 percent and above, the dissolution from the tablets containing Ceolus?KG802 appeared to be slower than those containing Avicel?PH102. It could be concluded that Ceolus?KG802 was more compactible than did Avicel?PH102, however, the delay in drug dissolution might be observed with Ceolus?KG802.
.