การพัฒนาสูตรตํารับโลชั่นสารสกัดไพล

โดย: นันทิชา เฮงสุวรรณ์, นันธิดา ปะกําแหง    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ไพล, น้ํามันไพล, โลชั่น, Zingiber cassumunar Roxb. extract, plai oil, lotion
บทคัดย่อ:
ตามตํารายาไทย สารสกัดน้ํามันไพลที่ได้จากการทอดมีสรรพคุณ แก้เคล็ด ขัด ยอก โครงการพิเศษนี้จึงได้นําเอาน้ํามันไพลมาเตรียมเป็นโลชั่น เพื่อให้เป็นรูปแบบที่น่าใช้มากขึ้น เมื่อนําสารสกัดน้ํามันไพลนี้มาเปรียบเทียบกับน้ํามันไพลบริสุทธิ์ซึ่งสกัดโดยการกลั่นไอน้ําด้วยวิธี TLC โดยใช้ silica gel GF254 ซึ่งมีระบบตัวทําละลายที่ใช้คือ Hexane:Ethyl acetate ในอัตราส่วน 7:3เมื่อนํามา detect กับ UV ที่ความยาวคลื่น 254 nm พบว่าน้ํามันไพลที่ได้จากการทอดมีลักษณะ chromatogram คล้ายกับน้ํามันไพลบริสุทธิ์ และเมื่อนําไป spray กับ Anisaldehyde-Sulfuric Acid TS พบว่าเกิดสี carmine-red ของสาร (E)-4-(3’,4’-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-ol ในการศึกษานี้ได้เตรียมโลชั่นตามสูตรต่างๆ 6 สูตร แล้วทําการพัฒนาสูตรตํารับในแต่ละสูตรโดย การปรับเปลี่ยนปริมาณสารต่างๆ ในตํารับ จนกว่าจะได้โลชั่นที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ลักษณะเนื้อโลชั่น ความหนืด และคุณสมบัติทางเคมี เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ตามต้องการแล้วจึงนําสูตรที่ดีมาใช้ทดลองเตรียมน้ํามันไพลที่สกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ํา เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของโลชั่นที่เตรียมได้จากน้ํามันไพลทั้ง 2 ชนิด หลังจากนั้นจึงเลือกสูตรตํารับที่ดีมาเติมสารต้านออกซิเดชันแล้วประเมินความคงตัวของโลชั่นด้วยวิธี freeze and thaw cycle ทั้งหมด 6 cycles และ ประเมินความรู้สึกในการใช้โลชั่นเพื่อหาสูตรตํารับที่ดีที่สุด ซึ่งจากผลการประเมินดังกล่าวจึงได้สูตรตํารับที่ดี 2 สูตร ที่เหมาะจะนําไปทําการพัฒนาตํารับให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
abstract:
According to Thai traditional medicine, plai oil extracted from rhizome of Zingiber cassumunar Roxb. by frying method was used for an external application in treatment of inflammation and muscle pain. The objective of this study was to formulate plai oil lotion . Plai oil extract was compared with refined plai oil extracted by steam distillation by using TLC ( silica gel GF254 ) with the solvent system ( hexane : ethyl acetate ; 7:3 ) and wavelength 254 nm UV detector. It was found that the characteristics of the chromatogram of plai oil prepared by frying method was the same as that of refined plai oil as, when spraying with Anisaldehyde – Sulfuric acid TS, carmine–red color of (E)-4-(3’,4’-dimethoxyphenyl)but- 3-en-1-ol was found. In this study, 6 formulae of lotion bases were prepared.Formulation development was carried out by adjusting concentration of plai oil and addition of other excipients. Comparison between lotions prepared form plai oil and refined plai oil was also studied. Finally, stability study of the lotion was evaluated by using freeze and thaw cycle (6 cycles). The results showed that two formulae have the potential for further development.
.