การปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมและ แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: นายธนพิพัฒน์ วิริยานนท์, นายธิติวุฒิ ศรีชลวัฒนา    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , ปรีดา สัมฤิทธิ์ประดิษฐ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การป้องกันภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนในโรงพยาบาล, ยาต้าน proton pump, แผนกศัลยกรรม, แผนกออร์โธปิดิกส์, Stress ulcer prophylaxis, Proton pump inhibitors, Surgical units, Orthopedic units
บทคัดย่อ:
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนในโรงพยาบาล (stress-related mucosal disease; SRMD) เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้ เช่นระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลที่นานยิ่งขึ้น อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการนายาต้าน proton pump มาใช้เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ซึ่งมีรูปแบบเป็นการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังเพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาต้าน proton pump เพื่อป้องกันภาวะ SRMD ในหอผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมและแผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าจากข้อมูลผู้ป่วยจานวน 105 คน มีผู้ป่วย 83 คน (ร้อยละ 79) ที่มีการสั่งใช้ยาต้าน proton pump อย่างไม่เหมาะสม โดยสาเหตุของการใช้ยาต้าน proton pump อย่างไม่เหมาะสมที่พบได้มากสุดคือ ไม่มีข้อบ่งใช้ของการใช้ยา พบได้ 77 คน (ร้อยละ 92.8) มีผู้ป่วย 23 คน (ร้อยละ 21.9) ที่ไม่หยุดยาเมื่อปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะ SRMD ถูกแก้ไขหรือหายไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วย 12 คน (ร้อยละ 14.5) ที่ได้รับขนาดยาไม่ถูกต้อง ผลการศึกษาสรุปว่าการใช้ยาต้าน proton pump ในหอผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมและแผนกออร์โธปิดิกส์ยังมีความไม่สอดคล้องกับคาแนะนาในปัจจุบันตามแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะ SRMD อยู่เป็นจานวนมาก ดังนั้นการเริ่มให้ยา การหยุดยาและการเลือกขนาดยาต้าน proton pump จึงมีความสาคัญและควรได้รับการติดตามอย่างเหมาะสม
abstract:
Stress-related mucosal disease (SRMD) in hospitalized patients may lead to undesirable outcomes such as prolonged hospital stay or increased mortality risk. Proton-pump inhibitor (PPI) is a commonly used agent for SRMD prevention. This retrospective chart review study was conducted to assess appropriateness of PPIs use, based on current evidence and guidelines, for SRMD prophylaxis in surgical units and orthopedic units in Ramathibodi hospital. The data of 105 patients included in the study showed that 83 patients (79%) inappropriately received PPIs for SRMD prophylaxis. Lacking of indication for PPI was the most common reason for inappropriate PPIs initiation (92.8%). Twenty three patients (21.9%) were found their PPIs were not stopped when the risk factors for SRMD were resolved or disappeared. Furthermore, 12 patients (14.5%) with proper indication for SRMD prophylaxis were found to receive inappropriate PPIs dose, particularly too-high dose. Improper use of PPI was common in surgical and orthopedics units. Monitoring for appropriate initiation, discontinuation, and dose selection of PPIs are required.
.