การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของตำรับยาประสะกานพลู

โดย: นางสาวฐิตาภา ภาษานนท์,นายมีชัย เกิดแก้วฟ้า    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: วรวรรณ กิจผาติ , จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล , วีณา นุกูลการ , นรรฆวี แสงกลับ    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ตำรับยาประสะกานพลู, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด, Prasakanplu recipe, Anticholinesterase activity, Antioxidant activity, Total phenolic compound
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ FRAP และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสด้วยวิธี Ellman’s ของสารสกัดตำรับยาประสะกานพลูจำนวน 5 สารสกัดได้แก่ สารสกัดด้วยเอทานอล 80%, สารสกัดด้วยเอทานอล 60%, สารสกัดจากส่วนกากเอทานอล 80% ด้วยน้ำ, สารสกัดจากส่วนกากเอทานอล 60% ด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยน้ำ ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH พบว่าค่า IC50 ของสารสกัดอยู่ในช่วง 24.77 - 86.51 µg/ml โดยค่า IC50 ของ vitamin C ซึ่งเป็นสารมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 12.50 ± 0.9 µg/ml การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี FRAP พบว่าค่า FRAP value ของ สารสกัดอยู่ในช่วง 1.43 - 5.88 mmol FeSO4/g extract ผลการวิเคราะห์หาปริมาณสาร ฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-ciocalteu พบว่ามีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดอยู่ในช่วง 180.96 - 319.40 mg GAE/g extract ผลการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส พบว่ามีค่า %inhibition ที่ความเข้มข้น500 µg/ml ของสารสกัดอยู่ในช่วง 45.23 - 59.83% ยกเว้นสารสกัดด้วยเอทานอล 80% ที่ไม่สามารถทดสอบได้เนื่องจากไม่ละลายในระบบทดสอบ โดยgalantamine ซึ่งเป็นสารมาตรฐานมีค่า %inhibition เท่ากับ 89.18 ± 2.84% การศึกษานี้สรุปได้ว่าตำรับยาประสะกานพลูมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงและสอดคล้องกับปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด รวมทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาฤทธิ์ดังกล่าวในสัตว์ทดลองต่อไป
abstract:
The purpose of this study was to determine antioxidant activity using DPPH and FRAP assay and anticholinesterase activity using modified Ellmen’s method of five Prasakanpku recipe extracts; 80% ethanolic extracts, 60% ethanolic extracts, water extract from 80% ethanolic extract residue, water extract from 60% ethanolic extract residue and water extract. The extracts were analyzed for the quantity of total phenolic compounds using Folin-ciocalteu method. Total phenolic compounds content range of the extracts was 180.96 - 319.40 mg GAE/g extract. The range of IC50 values of the extracts from DPPH assay was 24.77 - 86.51 µg/ml, while IC50 of vitamin C (as standard) was 12.50 ± 0.9 ug/ml. The FRAP value range of the extracts was 5.44 - 65.00 mmol FeSO4/g extract, while FRAP value of vitamin C was 11.2 mmol FeSO4/g extract. The anticholinesterase activity was determined at concentration of 500 ug/ml.The %inhibition range was 45.23 - 59.83%, while %inhibition of galantamine (as standard) was 89.18 ± 2.84%. These result revealed that Phasakanplu recipe had high antioxidant activity which related to the content of total phenolic compounds. Moreover, Prasakanplu recipe also demonstrated moderate anticholinesterase activity. However, the activities should be further investigated in animal model.
.