ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมะรุม

โดย: รัตติยา มากทรัพย์, ศศิวิมล วิชัยรัมย์    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 41

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , สมใจ นครชัย    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, มะรุม, antioxidant, moringa oleifera Lam.
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบ ฝัก และเปลือกต้น ของมะรุม โดยสกัดด้วยเมทานอล 80%,เมทานอล 50% และน้ำ ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธี DPPH method เปรียบเทียบกับวิตามินซี และ วิตามินอี (Trolox) ซึ่งเป็นสารมาตรฐาน และทำการทดสอบสารสกัดต่อด้วยวิธี AAPH hemolysis method ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบจากค่า IC50 โดยวิธี DPPH method พบว่า สารสกัดใบมะรุมด้วยน้ำมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดใบมะรุมด้วยเมทานอล 80 % ฝักมะรุมสกัดด้วยน้ำ ฝักมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 80 % ใบมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 50 % เปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยน้ำ เปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 80% และเปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 50% โดยมีค่าIC50เท่ากับ 179.22, 218.93, 221.64, 246.06, 251.31, 289.01, 302.93, 346.08 µg/ml ตามลำดับ สำหรับวิตามินซี มีค่า IC50 เท่ากับ 16.17 µg/ml และ วิตามินอี มีค่า IC50 เท่ากับ 27.85 µg/ml ส่วนวิธี AAPH hemolysis method พบว่าฤทธิ์ยับยั้งการแตกเม็ดเลือดแดงของสารสกัดใบมะรุมด้วยน้ำมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดใบมะรุมด้วยเมทานอล 80 % ฝักมะรุมสกัดด้วยน้ำ ใบมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 50 % ฝักมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 80 % เปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 50 % เปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยน้ำ และเปลือกต้นมะรุมสกัดด้วยเมทานอล 80 % (ความเข้มข้นของสารสกัดแต่ละชนิดเท่ากับ 2 mg/ml) โดยสามารถยืดเวลา 50% hemolysis จาก 82 นาที ในกลุ่มควบคุม เป็น 175, 127, 118, 116, 113, 104, 101, 100 นาทีตามลำดับ โดยที่เวลา 50% hemolysis ของวิตามินอี (0.5 mg/ml) มีค่า 176 นาที การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่า สารสกัดจากใบมะรุมและฝักมะรุม มีสารกลุ่ม tannins, phenolic compounds และ flavonoids ส่วนสารสกัดจากเปลือกต้นมะรุม มีสารกลุ่ม tannins , phenolic compounds
abstract:
Antioxidant properties of leaves, stem bark and fruits of Moringa oleifera Lam. were studied. Each part was extracted by 80 % methanol, 50 % methanol and water. The antioxidant properties were detected by DPPH method using Vitamin C and Trolox as reference standard. The in vitro oxidative hemolysis of sheep red blood cells model was performed to study the free radical-induced damage of biological membranes by using AAPH. From DPPH method, it was shown that leaves water extract possessed the most potent properties (IC50 179.22 µg/ml) whereas the IC50 of other parts were 218.93- 346.08 µg/ml . Vitamin C and Trolox had IC50 at the concentration of 16.17 µg/ml and 27.85 µg/ml respectively. From AAPH hemolysis method it was also found that water extract from leaves at the concentration of 2 mg/ml possessed the most potent activity. It could prolong the time of 50% hemolysis from 82 minutes in control group to 175 minutes, the range of the time of 50% hemolysis of other parts were 127- 100 minutes while the time of 50% hemolysis of 0.5 mg/ml trolox was 176 minutes. The phytochemical screening tests showed the presence of phenolic compounds, tannins and flavonoids in the leaves and fruits, phenolic compounds and tannin in bark.
.