ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของยาลดการดูดซึมฟอสเฟตในการควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดของผู้ป่วยพระภิกษุในหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสงฆ์

โดย: นางสาวปิยรัช พรหมหิตาทร, นางสาวปุณยวีร์ ไทยปรีชา    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 41

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิชิต โนสูงเนิน , บุษบา จินดาวิจักษณ์ , ปริญดา พีรธรรมานนท์ , ปรียาภรณ์ ปลอดทอง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง, พระสงฆ์, hyperphosphatemia, priest
บทคัดย่อ:
ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้โรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้เพิ่มอัตราการเกิดภาวะโรคทางหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของยาลดการดูดซึมฟอสเฟตในการควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดของผู้ป่วยพระภิกษุโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยทาการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนเพื่อคัดเลือกผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์การวิจัยซึ่งมีจานวนรวมทั้งหมด 28 รูป แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดได้ จานวน 10 รูป และกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดได้ จานวน 18 รูป จากนั้นทาการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยครั้งที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการฉันยาและพฤติกรรมการฉันอาหารของพระภิกษุ พร้อมทั้งให้คาแนะนาเกี่ยวกับการฉันยาและอาหารแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ทาการติดตามผลการให้คาแนะนาด้วยการสัมภาษณ์ครั้งที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการฉันอาหารและยาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (p-value 0.072 และ 0.832 ตามลาดับ) สาหรับปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มซึ่งเมื่อทาการให้คาแนะนาแล้วพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการฉันยาที่ดีขึ้น แต่ในส่วนของพฤติกรรมการฉันอาหารนั้นไม่พบความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือด เช่น การตอบสนองต่อยาลดการดูดซึมฟอสเฟตและปริมาณอาหารที่รับประทาน ต่อไป
abstract:
Hyperphosphatemia is associated with many serious complications that increased prevalence of cardiovascular diseases and mortality rates in ESRD. The aim of this special project is to investigate factors influencing the effectiveness of phosphate binder to control phosphate level in blood of priest patients in Dialysis Unit, Priest Hospital in order to control and solve problems of these factors. Twenty-eight of priest patients who met the eligible criteria were included and divided into 2 groups in that 10 of priest patients were classified in phosphate level controlled group and 18 of priest patients were classified in phosphate level uncontrolled group. Dietary restriction information and phosphate binder compliance were collected by questionnaire and interview. During collecting data, the appropriate dietary restriction and accurate phosphate binder administration would be given to the priest patients monitored for any drug related problems by the second interview. Result showed that food and drug intake behavior between 2 groups of priest were not difference (p- value 0.072 and 0.832), respectively. After providing an intervention, both groups presented more accurate drug intake behavior but not for dietary restriction. However, other factors that might influence the effectiveness of phosphate binder such as a response of phosphate binder and amount of dietary ingestion should be further studied.
.