การประเมินการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพระหว่างปีพ.ศ.2533-2542

โดย: จุฑารัตน์ แก้วน้อย,นฤทัย ลีลาเศรษฐกุล    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การประเมินการใช้ยา, การแทรกแซง (intervention), ยาปฏิชีวนะ (antibiotics), Drug Use Evaluation, intervention, antibiotics
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินการใช้ยา (Drug Use Evaluation) ในกลุ่ม cephalosporins และกลุ่ม carbapenams โดยรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2533-2543 จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลในประเทศไทยได้ 5 เรื่อง ในต่างประเทศได้ 20 เรื่อง ในประเทศไทยก่อนที่คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ 2542 จะกำหนดให้มีระบบการประเมินการใช้ยาในบัญชียา ง. การประเมินการใช้ยาส่วนใหญ่มาจากนโยบายของฝ่ายเภสัชกรรม ไม่ได้เป็นนโยบายของโรงพยาบาล จึงทำให้บทบาทในการประเมินการใช้ยาของเภสัชกรยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริหารโรงพยาบาลและไม่ได้รับความร่วมมือจากแพทย์ นอกจากนี้การประเมินการใช้ยาในประเทศไทยมักอาศัยนักศึกษาเภสัชศาสตร์เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้ขาดความต่อเนื่องเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ในต่างประเทศเภสัชกรมีบทบาทหน้าที่ในการประกันคุณภาพบริการเรื่องยาซึ่งรวมถึงบทบาทในการประเมินการใช้ยา โดยเภสัชกรเป็นผู้ดำเนินการติดต่อประสานงาน มีส่วนร่วมกับแพทย์ในการจัดทำเกณฑ์การใช้ยาที่เหมาะสมและแก้ไขปัญหา รวมทั้งทำหน้าที่เผยแพร่ผลจากการประเมินการใช้ยา นอกจากนี้การประเมินการใช้ยาในต่างประเทศมีความแตกต่างกับประเทศไทยคือ มีวิธีการเข้าไปแทรกแซงหลายวิธี (multiple interventions) ส่วนในประเทศไทยมักใช้วิธีการแทรกแซงเพียงวิธีการเดียว (single intervention) คือ การให้การศึกษาเรื่องเกณฑ์การใช้ยาที่ถูกต้องแก่แพทย์ จึงทำให้เห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการประเมินการใช้ยาประสบผลสำเร็จและสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องนั้นขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ระบบการบริหารจัดการการใช้ยาและความร่วมมือจากบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะผู้บริหารโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปรับเปลี่ยนการใช้ยk จากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนากระบวนการประเมินการใช้ยาให้มีประสิทธิผลมากขึ้น นำไปสู่ประโยชน์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณคือ ผู้ป่วยเกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ลดอาการไม่พึงประสงค์จากยา และสามารถช่วยให้โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่เหมาะสมลง
abstract:
This is a literature review of Drug Use Evaluation (DUE) program for cephalosporins and carbapenams published during the year 1990 and 2000, both in Thailand (4 research reports and 1 article) and other countries (20 articles). From the review of DUE in Thailand, we found that most programs were initiated by the pharmacy department, not the policy implementation of hospital administration. National policy for DUE took effect in 1999 with the final revision of the National Essential Drug List 1999, which requires all government hospitals to monitor the utilization of drug under the Sub-list 4 (บัญชี ง). Since the program was done under pharmacy department, co-operation from physicians were inadequate and the role of pharmacists were not well-accepted. Furthermore, most DUE data collection were done by graduate pharmacy students, not the hospital pharmacy staffs. Therefore, the program cannot be maintained once the students were gone. In the US and Canada where pharmacists play an important role of quality assurance in drug use, they play an active role in the DUE programs, such as being a co-ordinator of the program, help with the physician in setting up the appropriate criteria for drug use, act as data collector and analyze the data as well as publicize the results. In addition, DUE programs in the US had multiple interventions, while in Thailand, only single intervention was used (such as providing appropriate drug use education for physicians). In conclusion, the two most important factors for the success of the DUE programs are the management of medication use process and co-operation from physicians, particularly hospital administrators and physicians directly affected by the programs. From the results, we find that continuous improvement of drug use evaluation process leads to more effective use, both in qualitative and quantitative terms. Patients obtain safe, effective and economical drug therapy, with less adverse drug reactions. Hospitals can save the budget from inappropriate drug use.
.