การศึกษาประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

โดย: มณีรัตน์ เฉิดฉายเกียรติ ยุพเรศ มณีพันธุ์    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , มนทยา สุนันทิวัฒน์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ประวัติการแพ้ยา, ประเมินความน่าจะเป็นของการแพ้ยา , Drug allergy history, The probability assessment of drug allergy
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล-บำรุงราษฎร์ โดยการค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีประวัติการแพ้ยาจากแบบบันทึกลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ที่ผู้ป่วยบันทึกเอง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2543 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2544 และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา ตรวจสอบสถานะการแพ้ยาที่เภสัชกรระบุ และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เพื่อประเมินความน่าจะเป็นของการแพ้ยาโดยใช้เกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วยไทยที่มีการระบุว่ามีการแพ้ยา มีจำนวน 204 คน มี 247 รายการยา ยาที่ระบุว่ามีการแพ้มากที่สุดคือ ยาในกลุ่ม penicillins 83 รายการ (ร้อยละ 33.61) และยาในกลุ่ม sulfonamides 52 รายการ (ร้อยละ 21.05) โดยที่สามารถสัมภาษณ์ได้ 155 คน (เป็นชาย 50 คน และหญิง 105 คน) มีอายุตั้งแต่ 2-79 ปี (อายุเฉลี่ย+ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 37.27±14.70 ปี) ยาที่สงสัยมี 178 รายการเป็นยาในกลุ่ม penicillins 50 รายการ (ร้อยละ 28.09) ประเมินความน่าจะเป็นของการแพ้ยาได้เป็น Certain 27 เหตุการณ์ (ร้อยละ 17.43) Probable 85 เหตุการณ์ (ร้อยละ 54.84) Possible 17 เหตุการณ์ (ร้อยละ10.97) และไม่เกิดอาการแพ้ 3 เหตุการณ์ (ร้อยละ 1.94) สำหรับสถานะการแพ้ยาที่เภสัชกรได้ระบุไว้แล้วเป็น Confirmed 79 เหตุการณ์ (ร้อยละ 50.97) Suspected 60 เหตุการณ์ (ร้อยละ 38.71) และ Unknown 16 เหตุการณ์ (ร้อยละ10.32) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการระบุการแพ้ยาของผู้ป่วยขาดความชัดเจนและสถานะการแพ้ยาซึ่งระบุโดยเภสัชกรไม่สอดคล้องกับประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาในการเลือกใช้ยา และมีโอกาสเกิดการแพ้ยาซ้ำได้
abstract:
The objective of this special project was to study drug allergy history of out-patient at Bumrungrad Hospital. Suspected patients who had written drug allergy history by themself from New Patient Registration Form during November 2000 to June 2001 were collected. The drug allergy history status that the hospital pharmacists label were examined. The patients were also interviewed by telephone. The probability of drug allergy assessed by the Public Health Ministry criteria. Two hundred and four Thai patients were screened. The most drug group caused allergy were penicillins 83 items from 247 allergic drugs (33.61%), and sulfonamides 52 items (21.05%). One hundred and fifty-five patients (50 male and 105 female patients) with mean + SD age of 37.27+14.70 years (range 2-79 years) were interviewed. Fifty from 178 suspected drugs were penicillins (28.09%) which the most drug group caused drug allergy. The probability assessment of drug allergy were classified as certain 27 events(17.43%), probable 85 events (54.84%), possible 17 events (10.97%), and no drug allergy 3 events (1.94%).The status that pharmacist labeled were confirmed 79 events (50.97%), suspected 60 events (38.71%) and unknown 16 events (10.32%). From our study, it revealed that the patients are indicating drug allergy unclear and the status that pharmacist labeled was not compatibility with the patients drug allergy history. The patients may have problem using appropiate drug and reoccurrencing drug allergy.
.