ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ของสมุนไพรไทย

โดย: นิรุสลีนิน มะเต๊ะ,รัศมี วัฒนานนท์    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิตต์กวี ปวโร , กิตติพงศ์ วีรวัฒนเมธินทร์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: กรดโคจิก, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส, ชะเอมเทศ, บอระเพ็ด, ว่านชักมดลูก, ส้มแขก, Kojic acid, Tyrosinase inhibitor, Glycyrrhiza glabra L., Tinospora tuberculata, Curcuma xanthorrhiza Roxb., Garcinia atroviridis Griff.
บทคัดย่อ:
การทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของสมุนไพรที่ระบุไว้ในเครื่องสำอางและยังไม่พบรายงานการทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของต้นชะเอมเทศ เถาบอระเพ็ด เหง้าว่านชักมดลูก และผลส้มแขกโดยการหมักกับเมทานอลแล้วนำมาเทียบฤทธิ์ต้านเอนไซม์กับกรดโคจิกที่ความเข้มข้น 0.05, 0.1, 1.0, 5.0, 10.0, 50.0 และ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยวิธี dopachrome โดยมี L-3,4-dihydroxyphenylalanine (L-DOPA) เป็นsubstrate วิธีทดสอบนี้ใช้ microplate reader (BIO-RAD,model 450) วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 492 นาโนเมตร จากนั้นนำผลที่ได้มาสร้างกราฟระหว่างความเข้มข้น(ไมโครกรัม/มิลลิลิตร)และเปอร์เซ็นต์การต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดของชะเอมเทศ (IC50= 8.47 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ดีกว่ากรดโคจิก (IC50= 25.12 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ส่วนสารสกัดของบอระเพ็ด ว่านชักมดลูกและส้มแขก (IC50>100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสน้อยกว่ากรดโคจิก
abstract:
This project was screened for tyrosinase inhibitory activity of medicinal plants, used in cosmetics and not be found for the tyrosinase inhibitory activity research. Methanol extract from the stem of Glycyrrhiza glabra L., the stem of Tinospora tuberculata, the rhizome of Curcuma xanthorrhiza Roxb. and the fruits of Garcinia atroviridis Griff. were examined and compared the activity with kojic acid in the various concentration (0.05, 0.1, 1.0, 5.0, 10.0, 50.0 and 100.0 μg/ml) by dopachrome method,using L-3,4-dihydroxyphenylalanine(L-DOPA) as the substrate and used a microplate reader(BIO-RAD,model 450) at 492 nm as the detector.The graph was plotted between the concentration(μg/ml) and the percent inhibition. From the data, we can concluded that the methanol extract of Glycyrrhiza glabra L. (IC50 = 8.47 μg/ml) exhibited stronger tyrosinase inhibitory activity than kojic acid ( IC50 = 25.12 μg/ml). The tyrosinase inhibitory activity of the methanol extract which obtained from Tinospora tuberculata,Curcuma xanthorrhiza Roxb. and Garcinia atroviridis Griff. ( IC50 > 100 μg/ml) possessed their activities weaker than kojic acid.
.