การศึกษาความรู้ของเภสัชกรโรงพยาบาลเกี่ยวกับ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโซเดียมวาลโปรเอท ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์

โดย: นายจิรายุ ชัยณรงค์เดชากุล, นายศุภณัฐ มโนชมภู    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ , ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ความรู้, เภสัชกรโรงพยาบาล, โซเดียมวาลโปรเอท, อาการไม่พึงประสงค์, ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์, knowledge, hospital pharmacist, sodium valproate, adverse drug reaction, reproductive women
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อประเมินความรู้ของเภสัชกรโรงพยาบาลเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาโซเดียมวาลโปรเอทในผู้ป่วยโรคลมชักเพศหญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นมาจากแบบสอบถาม KOWIE-II และผ่านการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 15 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล จานวน 8 โรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ส่งแบบสอบถามกลับมาทั้งหมด 375 ราย (ร้อยละ 75.4 จากเภสัชกรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.1) อายุน้อยกว่า 35 ปี (ร้อยละ 81.6) มีประสบการณ์ในการทางานโรงพยาบาลน้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 63.5) เป็น เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 42.4, 11.2, 11.7 และ 34.7 ตามลาดับ ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในห้องจ่ายยา และเคยจ่ายยาโซเดียมวาลโปรเอทให้ผู้ป่วย (ร้อยละ 74.4 และ 58.9 ตามลาดับ) ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาโซเดียมวาลโปรเอทพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยของคาตอบที่ถูกต้อง เท่ากับ 8.003.56 คะแนน โดยคาถามที่ตอบถูกมากที่สุด (ร้อยละ 89.4) คือ การใช้ยาโซเดียมวาลโปรเอทในช่วงตั้งครรภ์จะเพิ่มโอกาสในการเกิดทารกวิกลรูป ส่วนคาถามที่ตอบถูกน้อยที่สุด (ร้อยละ 16.4) คือ การใช้ยาโซเดียมวาลโปรเอทลดประสิทธิภาพของการใช้ยาคุมกาเนิดชนิด combined pills ทั้งนี้พบว่า เภสัชกรที่มีประสบการณ์เคยจ่ายยาโซเดียมวาลโปรเอทให้แก่ผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์จะมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ดังกล่าว (8.22 และ 7.35 ตามลาดับ, p=0.03) ซึ่งจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเภสัชกรโรงพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาโซเดียมวาลโปรเอทในผู้ป่วยโรคลมชักเพศหญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ในระดับปานกลางถึงน้อย ซึ่งอาจส่งผลต่อการให้คาแนะนาและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสมได้
abstract:
The objective of this study was to evaluate knowledge of hospital pharmacist about adverse drug reactions of sodium valproate in reproductive-age women with epilepsy. Fifteen-items questionnaire was developed from KOWIE-II and was evaluated by experts. The questionnaires were send directly to hospital pharmacists at 8 hospitals. The results revealed that 375 questionnaires could be collected (75.4% of targeted hospital pharmacists). Most of participants were women (81.1%), aged <35 years old (81.6%), working experience <5 years (63.5%). Most of them were working in University hospitals (42.4%) while 11.2%, 11.7% and 34.7% were working in hospitals of the Department of Medical Services, hospitals of Bangkok Metropolitan Administration and private hospitals, respectively. Major of them worked at dispensing unit (74.4%) and had experience to dispense sodium valproate (58.9%). The mean score of knowledge test was 8.003.56. The highest correct item (89.4%) asked about using of sodium valproate during pregnancy and risk of teratogenicity. The least correct item (16.4%) was related to drug interaction between sodium valproate and oral contraceptives. Pharmacists who had experience to dispense sodium valproate had statistically significant higher score than who had not (8.22 and 7.35, respectively, p=0.03). This study showed that hospital pharmacists had low to moderate knowledge about adverse drug reactions of sodium valproate in reproductive-age women with epilepsy which might affect appropriateness of patient counseling and pharmaceutical care.
.