การทดสอบความคงตัวของครีมแคปไซซินนอยด์

โดย: นฤมล เลิดสิน,ปิยะ สิริปัญยาฌาน    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราณี ใจอาจ , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , จรุงจันทร์ กิจผาติ    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
จากรายงานการพัฒนาตำรับยาครีมจากสารสกัดแคปไซซินอยด์ (capsaicinoids) ซึ่งมี capsaicin ปริมาณมากที่สุด จนได้ตำรับยาที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้นว่ามีความน่าใช้ และมีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือด (skin blood flow, SBF) ที่ท้องแขนอาสาสมัคร แต่ไม่มีรายงานการทดสอบความคงตัวของตำรับนั้น โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความคงตัวของตำรับ สกัด capsaicinoids จากพริกขี้หนู (Capsicum frutescens Linn.) ด้วย dichloromethane แล้วทำให้บริสุทธิ์มากขึ้นโดยวิธี column chromatography จนได้ capsaicinoids fraction 1.04 % yield (คิดจากน้ำหนักแห้ง) จากนั้นเตรียม ครีมแคปไซซินอยด์ความเข้มข้น 0.075% w/w เก็บครีมแคปไซซินอยด์ไว้ที่อุณหภูมิห้อง (30-32องศาเซลเซียส) และ 4องศาเซลเซียส แล้วนำมาทดสอบความคงตัวทางกายภาพ ทางเคมี และ ทดสอบผลต่อ SBF ของครีมแคปไซซินอยด์ เทียบกับครีมแคปไซซินมาตรฐานที่ความเข้มข้นเดียวกันในอาสาสมัครทันทีที่เตรียมครีมเสร็จ (0 เดือน) และที่ 1, 2 เดือน ผลการทดสอบความคงตัวทางกายภาพพบว่า ที่อุณหภูมิทั้งสองครีมแคปไซซินอยด์ ไม่เกิด creaming, cracking และ viscosity ไม่เปลี่ยนแปลง สีของครีมที่เก็บที่ องศาเซลเซียส มีความคงตัวดีกว่าที่อุณหภูมิห้อง ผลการทดสอบความคงตัวทางเคมียังพบ capsaicinoids ที่เวลา 1, 2 เดือน ผลการวัด SBF พบว่าครีมแคปไซซินอยด์ที่อุณหภูมิทั้งสอง และครีมแคปไซซินมาตรฐานมีผลเพิ่ม SBF แตกต่างจาก cream base ชัดเจน (p<0.05) แต่ที่ 2 เดือนครีมแคปไซซินอยด์ที่อุณหภูมิห้องมีผลเพิ่ม SBF แต่ลดลงเร็วกว่าที่ 0, 1 เดือน แตกต่างจากครีมแคปไซซินอยด์ที่ 4องศาเซลเซียส ที่มีผลเพิ่ม SBF และฤทธิ์คงอยู่ได้นานกว่า แสดงว่าการเก็บครีมแคปไซซินอยด์ที่ 4 องศาเซลเซียส จะทำให้ครีมมีความคงตัวดีกว่าที่อุณหภูมิห้อง ดังนั้นควรได้ศึกษาความคงตัวของตำรับครีมแคปไซซินอยด์ระยะเวลานานขึ้น และหากตำรับครีมมีความคงตัวดี น่าที่จะทดลองทางคลินิกเพิ่มขึ้นต่อไป
abstract:
Previous studies on capsaicinoid cream formulation demonstrated that it increased skin blood flow. However, the stability testing of such preparations has not yet been performed. In this study, the stability of capsaicinoid cream was tested. Capsaicinoids were extracted from the dried Thai capsicum fruits (Capsicum frutescens Linn.) with dichloromethane and purified by column chromatography. The final capsaicinoid fraction was 1.04 % yield (base on dry weight). This fraction was used to prepare 0.075% w/w capsaicinoid cream which was stored at 4degree and at room temperature (RT, 30-32 degree). Physical, chemical stability and the effect of the prepared capsaicinoid cream on skin blood flow in healthy volunteers were tested and compared with the standard capsaicin cream at the same concentration. After 2 months of storage, no changes in physical properties (creaming, cracking, viscosity) were observed either in cream stored at 4degree or at RT. However, the cream stored at RT showed a certain degree of color fading. Capsaicinoids in the cream which represented chemical stability were detected after 2 months of storage. The increase in skin blood flow caused by the capsaicinoid cream stored at 4degree for 2 months lasted longer than the effect caused by the cream stored at RT. It was concluded that capsaicinoid cream was more stable when it was stored at 4degree. Further stability testing with longer period of storage should be performed before the implementation for clinical use
.