ทัศนคติต่อการสูบและการอดบุหรี่ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

โดย: ปรีดา เบญจนากาศกุล,วนิดา แพงเทียน    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทยา สุนันทิวัฒน์ ,    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ทัศนคติ, การสูบบุหรี่, การอดบุหรี่, โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ,
บทคัดย่อ:
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการสูบและ การอดบุหรี่ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำการศึกษาโดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยนอกที่มีประวัติสูบบุหรี่และเข้ารับการรักษาที่คลินิกเฉพาะโรคในโรง-พยาบาลพระมงกุฏเกล้า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และโรงพยาบาลสมิติเวช จากกลุ่มตัวอย่าง 63 คน คิดเป็นเพศชายร้อยละ 95.24 แยกเป็นผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง 14 คน และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 49 คน ร้อยละ 68 มีอายุ 51 ปีขึ้นไป จากประวัติการสูบบุหรี่พบว่าผู้-ป่วยร้อยละ 65.08 เคยสูบบุหรี่แต่สามารถเลิกได้แล้ว ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยจะเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี และ 2 ใน 3 สูบมานานกว่า 20 ปี ปัจจัยหลักที่เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเริ่มสูบบุหรี่มากที่สุดคือ ความอยากรู้อยากลอง (ร้อยละ 49.22) และเพื่อระบายความเครียด (ร้อยละ 47.60) แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบผลเสียของการสูบบุหรี่และผลดีของการอดบุหรี่ แต่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยบางคนยังคงสูบบุหรี่ คือการสูบจนติดเป็นนิสัยร้อยละ 54.84 รองลงมาคือการสูบเพื่อคลายเครียดร้อยละ 46.78 และความรู้สึกหงุดหงิดเมื่องดสูบบุหรี่ร้อยละ 43.55 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลิกบุหรี่ คือการได้รับทราบถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่ผ่านทางสื่อต่างๆ อุปสรรคที่สำคัญต่อการอดบุหรี่คือ ความเคยชินกับการสูบบุหรี่ ความรู้สึกหงุดหงิดโมโหง่ายและจากพฤติ-กรรมการสูบบุหรี่ของคนรอบข้าง ประมาณร้อยละ 87.50 ของกลุ่มตัวอย่างไม่เคยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในการอดบุหรี่ แต่ส่วนใหญ่มีความตั้งใจจะเลิกสูบเอง ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนโปรแกรมการอดบุหรี่ต่อไปในอนาคต
abstract:
The objective of this study was to identity attiudes and factors influencing smoking and smoking cessation cessation of patients with chronic respiratory disease and cardiovascular disease.The outpatients with smoking history at the three selected hospitals:King Mongkut hospital,Bumrungrad hospital and Samitivej hospital,were interviewed.All samples were sixty-there. Results showed that 95.24% of the patients were male.Fourteen were patients with choronic respiratory disease and fourty-nine patients were male.Fourteen were patients with chronic respiratory disease and fourty-nine were cardiovascular patients. Sixty-eight percent was over the age of 51. The results form smoking history showed that 65.08% of the samples could permannently stop smoking. Abont three fouths started smoking before the age of 20 and two thirds had more than 20 year-smoking history. Major factors affecting patient s decision to start smoking were curiosity (43.55%) and relaxation(47.60%).Although most patiend knew disadvantages of smoking and benefits form smoking cessation, the important reasons making patients still smoking were smoking habit(54.84%),relaxation(46.78%)and irritation reduction(43.55%).the significant factor affecting patient s decision to quit smoking was perception of tobacco s poison through several channel of media. The great barriers of smoking cessation were smoking habit(49.12%), irritable feeling (30.92%) and smoking behavaior of pharmacists but they had strong intention to quit smoking. results of this study could could be used as information to implement asmoking cessation program in the future
.