การพัฒนาตำรับเม็ดขิงฟองฟู่

โดย: นางสาว พิมพิมล ขุนแสน,นางสาว อิงอร สีสำลี    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , วราภัสร์ พากเพียรกิจวัฒนา , อำพล ไมตรีเวช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ขิง,เม็ดผักฟองฟู่, กรดซิตริก, กรดทาร์ทาริก, โซเดียมไบคาร์บอเนต, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, Ginger , Effervescent , Citric acid ,Tartaric acid, Sodium bicarbonate, Carbondioxide gas
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาตำรับเม็ดขิงฟองฟู่ ขิงอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติมีสรรพคุณในการป้องการอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ และตำราแพทย์แผนไทยบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง การพัฒนาขิงในรูปแบบเม็ดฟู่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตำรับที่เหมาะสม โดยวิธีแกรนูลเปียก ประกอบด้วย ขิง สารเพิ่มปริมาณ ได้แก่ น้ำตาลซูโครสและมอลโตเดกซ์ทริน สารก่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่ กรดซิตริกและกรดทาร์ทาริก ทำปฏิกิริยากับสารที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต สารยึดเกาะ ได้แก่ โพวิโดน (Povidone k-90?) สารกันติด ได้แก่ แอโรซิล (Aerosol?) สารช่วยลื่น ได้แก่ PEG6000 แต่ละตำรับมีปริมาณของสารเพิ่มปริมาณและสารก่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่างกัน นำตำรับยาทั้ง 4 ตำรับ ตอกเป็นเม็ดด้วยเครื่องตอกไฟฟ้าชนิดสากเดี่ยว (single punch tablet machine, Fette?) ใช้สากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 มม พบว่าในตำรับ 4 ที่มีมอลโตเดกซ์ทรินเป็นสารเพิ่มปริมาณไม่สามารถตอกอัดเป็นเม็ดได้ นำเม็ดขิงฟู่ตำรับ 1, 2 และ 3 ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่าความแข็งของเม็ดขิงฟู่ในตำรับ 2 ให้ความแข็งเม็ดมากที่สุดเท่ากับ 10 กก ส่วนตำรับ 1 และ 3 มีความแข็งใกล้เคียงกัน 5 และ 6 กก เวลาในการแตกตัวของเม็ดขิงตำรับ 3 ใช้เวลาไม่ถึง 10 วินาที ส่วนตำรับ 1 และ 2 ใช้เวลาประมาณ 18 วินาที ในตำรับ 3 เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทันทีที่เม็ดขิงฟู่แตกตัว ความแปรปรวนน้ำหนักและความกร่อนผ่านข้อกำหนด Dietary supplement ตามเภสัชตำรับสหรัฐอเมริกา เล่มที่ 31 ทั้ง 3 ตำรับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าตำรับ 3 ที่มีกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก โซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นสารก่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำตาลซูโครสเป็นสารเพิ่มปริมาณให้ความแข็ง การแตกตัวที่รวดเร็วพร้อมกับเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ทันทีเป็นตำรับที่ดี
abstract:
This special project concerns development of ginger as effervescent tablet. The essential drugs list of Thailand, ginger has antinausea effect in motion sickness. It has been used to relieve nausea and flatulence in Thai traditional medicine practice. The objective of study is to develop a suitable formulation of ginger effervescent tablet using wet granulation method. The formula consists of ginger filler, which are sucrose and maltodextrin, material that releases gas carbondioxide: citric acid and tartaric acid which reacts with alkali material: sodium bicarbonate; binding agent is Povidone K 90; antiadherent agent is aerosil; lubricant is PEG 6000. The quantities of fillers and carbondioxide releasing materials are different among the 4 formulation studies. All formulation were compressed into tablets with single punch tablet machine, Fette, punch diameter 13 mm. It was found that formulation 4 that contain maltodextrin cannot be compressed into tablet. The remaining physical properties 3 formulations were tested; tablet hardness formula 2 was 10 kg while formula 1 and 3 had similar hardness of 5 and 6 kg. Tablet disintegration time of formulae 3 was less than 10 seconds whereas that of formulae 1 and 2 was about 18 seconds. All 3 formulae produced instant release of carbondioxide upon disintegration. Weight variation and friability test of all 3 formulations pass specifications of dietary supplement USP 31. The result of the study show that formulae 3 is good one as it disintegrated and instantly released carbondioxide. It contains citric acid, tartaric acid, and sodium carbonate, as carbondioxide releasing materials with sucrose as binder.
.