การพัฒนาตารับผลิตภัณฑ์จากมังคุด ในรูปแบบแคปซูล

โดย: นายนฤเบศร์ ชัยศิริ,นายประพัทธิ์ เก่งอนันตานนท์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ , ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: มังคุด, แคปซูล, สารประกอบแคลเซียม, ไมโครคริสตัลไลน์ เซลลูโลส, mangosteen, capsule, calcium compound, microcrystalline cellulose
บทคัดย่อ:
โครงการนี้จัดทาขึ้นเพื่อพัฒนาตารับผลิตภัณฑ์จากมังคุดในรูปแบบแคปซูล ในขั้นแรกทาการศึกษาก่อนการตั้งตารับ โดยรวบรวมข้อมูลคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของผงสารสกัดมังคุด พบว่าผงยามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผลิตในรูปแบบแคปซูล แต่พบปัญหาคือ ผงยาไม่คงตัวในสภาวะด่าง และลักษณะค่อนข้างฟู คุณสมบัติการไหลไม่ดีและดูดความชื้นได้ค่อนข้างดี ดังนั้นในขั้นตอนการพัฒนาตารับจึงทาการศึกษาและเลือกสารช่วยที่สามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องการดูดความชื้นซึ่งจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของผงยา โดยผสมสารช่วยกับผงยาในอัตราส่วน 1:3 โดยน้าหนัก แล้วนาไปทดสอบด้านต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติการดูดความชื้น, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพเมื่อดูดความชื้น, การวิเคราะห์สารสาคัญในผงยาผสมเทียบกับผงยาที่ไม่ได้ผสม เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ของสารช่วยกับผงยา จากการทดลองพบว่าสารประกอบแคลเซียมและไมโครคริสตัลไลน์ เซลลูโลส สามารถช่วยลดการดูดความชื้นของผงยาได้เป็นอย่างดีและผงยาที่ได้มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีความเข้ากันได้กับผงยาโดยไม่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและไม่ลดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผงยา เมื่อนาแคปซูลบรรจุผงยาผสมมาทาการศึกษาความคงตัวภายใต้สภาวะเร่ง (40°ซ และความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75) นาน 60 วัน พบว่าลักษณะทางกายภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่เปลี่ยนแปลง
abstract:
The objective of this project was to develop the formulation of mangosteen capsule. The first stage was preformulation study of the chemical and physical properties of mangosteen’s extract powder. It was found that the properties of extract powder were appropriate for capsule dosage form, but the extract powder was not stable in alkaline condition, quite bulky, poor flowability and hygroscopic. Consequently, in the development process, excipient was studied and selected to solve the problems, especially hygroscopicity which will affect extract powder’s physical properties. The mixture of excipient and extract powder in the ratio of 1:3 (by weight) was tested with various methods such as moisture sorption properties, physical change after moisture sorption, and chemical analysis in order to investigate compatibility between excipient and powder. It was found that calcium compound and microcrystalline cellulose could reduce moisture sorption of powder and the powder had proper physical properties without chemical and antioxidant properties change. After capsule containing extract powder and excipient was kept under accelerated condition (40 degree Celsius and 75% RH) for 60 days, it was found that the physical properties and antioxidant activity remained unchange.
.