การเคลือบยาเม็ดแอสไพรินด้วยสารเคลือบเอนเทอริคในน้ำ

โดย: กฤษณิน จันทร์แสงโรจน์,พรพรรณ ขวาทอง    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมยาเม็ดแอสไพรินเคลือบฟิลืมชนิดปลดปล่อยตัวช้า ยาเม็ดนี้ไม่แตกตัวในกระเพาะอาหารแต่จะแตกตัวและปลดปล่อยตัวยาในลำไส้เล็ก จึงลดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารซึ่งเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์ที่สำคัญของแอสไพริน การวิจัยเริ่มจากการพัฒนาสูตรยาตำรับในการเตรียมยาเม็ดด้วยวิธีการตอกโดยตรง จาการพิจารณาในด้านความแข้งและเวลาในการแตกตัว นำตำรับทีเลือกแล้วไปเคลือบด้วยEudragit®L 30 D-55 ซึ่งเป็นสารก่อฟิล์มที่สามารถกระจายตัวได้ในน้ำและสามารถละลายที่ PH 5.5 ขึ้นไป โดยศึกษาถึงความแตกต่างของความหนาของฟิล์มคิดจากปริมาณของพอลิเมอร์ที่เคลือบได้แก่ 6,7.5,9mg/cm2 เปรียบเทียบกับตำรับที่มีขายในท้องตลาดคือ Aspent® พิจารณาคุณสมบัติในการแตกตัวและการละลาย หลังจากประเมินผลพบว่าทุกตำรับไม่แตกตัวใน gastric fluid ปต่จะแตกตัวใน intestinal fluid โดยเม็ดยาที่เคลือบด้วยฟิล์มบางไปหนาและAspent®มีเวลาในการแตกตัว 6:38, 7:17, 8:31 และ 14:38 (นาที:วินาที)ตามลำดับและไม่มีการละลายใน gastric fluid แต่มีการละลายใน intestinal fluid โดยละลายได้ 99.75%,101.06%,98.40%และ98.74%ตามลำดับ ซึ่งทั้งเวลาในการแตกตัวและอัตราการละลายทั้งหมดผ่านตามมาตรฐาน USB 23 เมื่อพิจารณาการแตกตัวพบว่าการเคลือบทุกตำรับใช้เวลาในการแตกตัวน้อยกว่า Aspent® และการเคลือบยิ่งบางลงเวลาที่ใช้ในการแตกตัวจะเร็วขึ้นตามลำดับ ส่วนอัตราการละลายเริ่มต้นพบว่า Aspent® ช้ากว่ายาเม็ดเคลือบที่เตรียมขึ้นแต่ที่จุดสุดท่ายการละลายจะใกล้เคียงกัน
abstract:
Due to gastrointestinal irritation caused by plain aspirin tablets, enteric film coated aspirin tablets are preferable. Such tablets will not disintegrate in stomach, they will break apart and release the content in the intestinal tract. This study formulated aspirin tablets using direct compression method. The most desirable formulation, judged by it’s hardness and disintegration, was film coating using Eudragit®L 30 D-55 as film former which dissolved at pH 5.5 and above. The effect of film thickness measured by weight per area on the disintegration and dissolution was studied, compared with Aspent ®disintegrated respectively in 6:38, 7:17, 8:31, and 14:38 (min:sec) in intestinal fluid medium. It implied that thiner thicness exhibited less disintegration time. The dissolution test was performed according to USP XIII ; the dissolution values of the tablets with the thicnesses of 6, 7.5, 9 mg/cm2 and Aspent®were 100.09%, 101.61%, 97.63% and 95.64%, respectively. However , the initial dissolution rate of the experimental tablets was faster than Aspent® and the tablets with the thicness of 6 mg/cm2 possessed the most rapid dissolution.
.