ข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการจากห้องจ่ายยากลาง โรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: นริสรา เผดิมรอด,นันทกา สุขเกษม,ศรีวรรณ วัฒนาเจริญสุข    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ , สุวิมล ณ บางช้าง , วีรวรรณ เยาว์วิวัฒน์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: คำแนะนำที่เกี่ยวกับยา, ห้องจ่ายยา, ผู้ป่วย, Drug information, Dispensing room, Patients
บทคัดย่อ:
การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการจากห้องจ่ายยา และปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการคำแนะนำที่เกี่ยวกับยา ทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการจากห้องจ่ายยากลางโรงพยาบาลรามาธิบดี ในวันจันทร์เวลา 10.00 น.–16.00 น. (ในเวลาราชการ) และ วันจันทร์–ศุกร์ เวลา 17.00 น.–19.00 น.(นอกเวลาราชการ) สุ่มผู้ป่วย 1 คน ต่อผู้ป่วยทุกๆ 10 คน ที่เรียงลำดับตามการรับยาหรือไม่เกิน 3 คน ภายใน 30 นาที ใช้เวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ ได้ผู้ป่วย 350 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยในเวลาราชการ จำนวน 111 คน และนอกเวลาราชการ จำนวน 239 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มารับบริการในเวลาราชการ มีระดับการศึกษาต่ำกว่าและรายได้น้อยกว่าผู้ป่วยที่มารับบริการนอกเวลาราชการ และส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้านและรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ป่วยที่มารับบริการในเวลาราชการต้องการคำแนะนำร้อยละ 78.4 โดยมีความต้องการคำแนะนำในรูปแบบเอกสารมากที่สุด (ร้อยละ 39.1) ในขณะที่ผู้ป่วยที่มารับบริการนอกเวลาราชการต้องการคำแนะนำร้อยละ 84.9 โดยมีความต้องการ คำแนะนำในรูปแบบเอกสารมากที่สุด (ร้อยละ 36.5) สำหรับข้อมูลที่ผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการต้องการทราบมาก ได้แก่ ข้อควรระวังในการใช้ยา ข้อบ่งใช้ของยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา วันหมดอายุ การปฏิบัติตัวเพื่อให้อาการดีขึ้น การรับประทานยาก่อน–หลังอาหารกี่นาที และรายละเอียดเกี่ยวกับโรคที่มารักษา แต่ข้อมูลในเรื่องการเก็บรักษายา วิธีการใช้ยา และระบบเตือนความจำ เป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยที่มารับบริการ ในเวลาราชการต้องการมากกว่าผู้ป่วยที่มารับบริการนอกเวลาราชการ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการคำแนะนำในการใช้ยา และคำแนะนำนั้นควรอยู่ในรูปแบบเอกสาร ดังนั้นหากฝ่ายเภสัชกรรมให้บริการดังกล่าวก็คาดว่าผู้ป่วยที่มารับบริการจะพึงพอใจ สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และลดปัญหา การกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วย
abstract:
The objective of this study is to determine format and types of information patients need from pharmacist, and factors affecting patients’ need. Patients who received drugs at central dispensing room, Ramathibodi Hospital on Monday at 10.00 to 16.00 (service hour) and Monday-Friday from 17.00 to 19.00 (off-service hour) were selected for the study. One patient was recruited from every 10 patients or not more than 3 patients in 30 minutes. A total of 350 patients were interviewed during 4 weeks of the study. There were 111 patients at service hour and 239 patients at off-service hour. The results showed that patients of the service hour had lower education level and income than patients of the off-service hour, and most were housewife, government officials, and employee of public enterprise. The 78.4 % of patients coming in the service hour need information and mostly prefer in document format (39.1%). Similarly, most of patients of the off-service hour need information (84.9%) and mostly as document (36.5%). The information that patients of both groups need were caution, indication, side effect, expire date, self-care to get better, how many minutes should be for taking drug before and after meal and detail of the disease. However, the information about drug storage, administration, and recall system are the information that patients of the service hour need more than patients of the off-service hour . It is concluded that patients need drug information that is in document format. Therefore, if pharmacy department provides such service, patients should be satisfied, able to use drugs correctly, receive benefit of treatment and reduce rehospitalization
.